www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยอะโวคาโด

การใส่ปุ๋ยอะโวคาโด

การใส่ปุ๋ยอะโวคาโด  

                พันธุ์      สายพันธุ์นิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่  รูเฮิร์ต.  โพลล็อก.  และคาโน.  เป็นพันธุ์เบา  ออกดอกตั้งแต่ ต.ค. – ก.พ.  และสายพันธุ์  ลินดา.  บูซ-7.  บูซ-8  เป็นพันธุ์หนัก  ออกดอกตั้งแต่ ธ.ค. – ก.พ.                

                การเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา...แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง   ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง   คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม  ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง

                การเตรียมพื้นที่ปลูก  การเตรียมพื้นที่ปลูกควรจะเตรียมไว้ล่วงหน้า โดยการขุดหลุมปลูกขนาด 80x80x80  เซนติเมตรผสมปุ๋ยคอก 1-2 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับดิน เตรียมไม้ปักเพื่อยึดต้นกันโยก เตรียมหญ้าแห้งหรือฟางแห้ง  เพื่อคลุมโคนต้น

                การปลูก การปลูกนำต้นพันธุ์อะโวคาโดที่ได้ขนาดลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรให้รอยต่อของกิ่งพันธุ์ดีอยู่เหนือระดับดิน กลบดินรอบโคนต้น รดน้ำให้ชุ่ม นำหลักมาปักและมัดยึดกันลมโยกและคลุมโคนต้นด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้ง แล้วทำร่มเงาเพื่อช่วยพรางแสงแดด

                การให้น้ำ เมื่อปลูกใหม่ ควรให้น้ำเพื่อการเจริญเติบโต ของต้นอะโวคาโด เมื่อต้นอะโวคาโดถึงระยะออกดอกควรงดการให้น้ำ จนกว่าจะเกิดตาดอกและช่อดอกและช่อดอกเจริญจึงเริ่มให้น้ำใหม่

                การใส่ปุ๋ย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะบำรุงต้นใบ  โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 ผสมกับ 30-0-0  อัตรา 1 ต่อ 1 ใส่ต้นละ 200 กรัม ทุก 3 เดือน  ระยะสะสมอาหารเพื่อการออกดอก เปิดตาดอกและบำรุงดอก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ในอัตรา 0.5 กก.ต่อต้น และระยะบำรุงผลให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา 0.5 กก.ต่อต้น

                การเก็บเกี่ยวผลผลิต ในการเก็บเกี่ยวต้องให้มีขั้วผลติดอยู่กับผล หากขั้วผลหลุดออกจากผลจะทำให้ผลเสียหายได้ง่ายขณะบ่มให้สุก วิธีการเก็บเกี่ยวทำได้โดยเด็ดหรือใช้กรรไกรตัดขั้วผลหลุดออกจากกิ่ง อาจใช้บันไดปีนขึ้นไปเก็บหรือใช้ตะกร้อที่มีใบมีดตัดขั้ว สอยให้ติดขั้วหรือใช้กรรไกรด้ามยาวที่มีที่หนีบขั้วผลไว้ ไม่ให้ผลตกเสียหาย ควรระมัดระวังไม่ให้ผิวผลเสียหาย เมื่อเก็บแล้วให้ใส่ลงในภาชนะที่รองด้วยกระดาษหรือฟองน้ำที่ป้องกันความเสียหายได้ นำไปคัดแยกเอาผลที่ไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดออก ตัดขั้วผลให้สั้นลงเหลือเฉพาะส่วน

                โรคของอะโวคาโด  ได้แก่ โรครากเน่า  โรคจุดดำหรือโรคแอนแทรคโนส  โรคแคงเกอร์  โรคใบจุดจากเชื้อสาหร่าย

                แมลงศัตรูของอะโวคาโด  ได้แก่  ด้วงงวงกัดกินใบ  หนอนผีเสื้อ

Tags : การใส่ปุ๋ยอะโวคาโด

view