-
ข้าวโพดฝักอ่อน
ข้าวโพดฝักอ่อนเป็นพืชอุสาหกรรมเพื่อการส่งออก และยังมีแนวโน้มที่สามารถส่งออกเพิ่มขึ้นอีก เพราะยังมีความต้องการจากตลาดต่างประเทศจำนวนมาก แต่ทั้งนี้จะมีการแข่งขันทางด้านการค้ากับประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ด้วยเกษตรกรผู้ปลูกและผู้ส่งออกจึงต้องดำเนินการในกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ โดยเฉพาะการผลิตให้ถูกต้องตามเกษตรดีที่เหมาะสม ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
แหล่งปลูก
แหล่งปลูกข้าวโพดฝักอ่อนของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือการปลูกสภาพไร่อาศัยน้ำฝน ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เพรชบูรณ์ พิจิตร ศรีสะเกษ และสุราษฎร์ธานีและการปลูกโดยอาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติและน้ำชลประธานในเขตจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี
- สภาพพื้นที่ ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศที่ไกล้แหล่งน้ำสะอาดในพื้นที่ราบและสม่ำเสมอ มีความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีน้ำท่วมขัง ห่างไกล้จากแหล่งมลพิษและการคมนาคมสะดวก ไกล้แหล่ะรับซื้อ รวบรวมผลผลิต หรือโรงงานอุสาหกรรม
- ลักษณะดิน ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกให้ผลผลิตได้ดีในดินร่วน ดินเหนียวร่วนปนทราย หรือดินร่วนปนทราย มีความอุดม สมบูรณ์สูง มีปริมาณอินทรีวัตถุม่น้อยกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 40 ส่วนในล้านส่วน มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี ระดับหน้าดินลึก 25-30 เซนติเมตร และมีค่าเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-6.8
- สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 24-35 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1200 มิลลิเมตรต่อปี และมีแสงแดดจัด
- แหล่งน้ำ ต้องมีน้ำเพียงพอสำหรับใช้ตลอดฤดูปลูก และต้องน้ำสะอาดปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน
- วางแผนการผลิต ข้าวโพดฝักอ่อนเป็นพืชบริโภคสด สามารถปลูกได้ตลอดปี อายุการเก็บเกี่ยวค่อนข้างสั้น จำเป็นต้องวางแผนการผลิตเพื่อรักษาคุณภาพ โดยจะต้องติดต่อโรงงานหรือผู้รวบรวมผลผลิตไว้ล่วงหน้า และผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของโรงงานและตลาด
สายพันธุ์
- การเลือกพันธุ์ควรเลือกพันธุ์ที่ผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐาน ตรงตามที่โรงงานหรือตลาดต้องการและเจริญเติบโตเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
- พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้ามี 2 กลุ่ม คือ 1.พันธุ์ลูกผสม เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงต้น ความสูงฝัก อายุถึงวันออกดอกตัวผู้และวันออกไหม วันเริ่มเก็บเกี่ยว และช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด และเป็นที่ต้องการของตลาดและโรงงานมีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง เมล็ดพันธุ์ราคากิโลกรัมละ 60-90 บาท
และ 2. พันธุ์ผสมเปิด มีลักษณะทางการเกษตรมาสม่ำเสมอ เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ลูกผสม มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง เมล็ดพันธุ์ราคาถูกกว่าพันธุ์ลูกผสม คือ ราคากิโลกรัมละ 10-20 บาท
การปลูก
- ฤดูปลูก สามารถปลูกตลอดได้ทั้งปี ถ้ามีการจัดการดินและน้ำอย่างเหมาะสม ใช้เวลาตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว 43-45 วัน และช่วงเวลาเก็บเกี่ยว 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ จึงสามารถปลูกได้ 4-5 ครั้งต่อปี เพื่อให้ได้ผลผลิตฝักอ่อนออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจำเป็นต้องวางแผนการปลูกที่เหมาะสม
- การเตรียมดิน ไถด้วยผาล3 1 ครั้ง ลึก 20-23 เซนติเมตร และตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผาล7 1 ครั้ง ปรับระดินให้สม่ำเสมอแล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัวไหล ของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลงและควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนปลุก ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
1. ถ้าดินมีค่าการเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านสารปรับสภาพดิน 5 นางฟ้าทรงฉัตร อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่แล้วพรวนกลบ
2. ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 ก่อนพรวนดินให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่
- วิธีการปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูงกว่า 85 เปอร์เซ็น อัตรา 4.5-6.0 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวนต้นที่เหมาะสม 18,000-20,000 ต้นต่อไร่ โดยแบ่งวิธีการปลูกเป็น 2 สภาพด้วยกัน คือ
1. ปลูกในนาหรือสภาพไร่ ปลูกเป็นแถวคู่ยกร่อง 30-40 เซนติเมตรระยะระหว่างสันร่อง 100-125 เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้างร่องสองข้างแบบสลับฟันปลา ระยะระหว่างหลุม 25-30 เซนติเมตร จำนวน 2-3 เมล็ดต่อหลุม เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุประมาณ 14 วัน ถอนแยกให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม
2. ปลูกบนร่องสวน ให้ปลูกเป็นหลุมระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร จำนวน 3-4 เมล็ดต่อหลุม เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุประมาณ 14 วัน ถอนแยกให้เหลือ 3 ต้นต่อหลุม
การดูแลรักษา
- การให้ปุ๋ย ถ้าดินมีอินทรียวัตถุฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เป็นเป็นประโยชน์ต่ำ กว่าตามที่ระบุในลักษณะดิน ก่อนหยอดเมล็ดให้รองกันหลุมด้วยปุ๋ยเคมี ตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 16-20-0 สำหรับดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทราย และสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับดินร่วนปนทรายเมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ยเคมี 30-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่หรือสูตร 25-7-7 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างต้นหรือข้างแถว แล้วพรวนกลบปุ๋ยให้มิด
- การให้น้ำ ให้น้ำทันทีหลังปลูก และหลังการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง หลังจากนั้นให้น้ำตามร่องปลูก ทุก 7-10 วัน ถ้าใบข้าวโพดฝักอ่อนเหี่ยวหรือม้านในช่วงเช้าหรือเย็น แสดงว่าขาดน้ำ ต้องให้น้ำทันที และไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงนานเกิน 24 ชั่วโมง เพราะข้าวโพดฝักอ่อนจะชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และอาจตายได้
-การถอดช่อดอกตัวผู้ เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนเริ่มออกดอกตัวผู้ให้ดึงช่อดอกตัวผู้ออก จะทำให้ฝักอ่อนเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นหลังจากดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้งประมาณ 2-5 วัน จะเริ่มเก็บเกี่ยวฝักแรกได้
โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ
โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย สาเหตุเชื้อรา Peronosclerospora sorghi ลักษณะอาการ ระบาดรุนแรงในระยะตันอ่อนอายุประมาณ 1 เดือน ทำให้มียอดข้อถี่ ต้นแคระ แกร็น ใบเป็นทางสีข้าว สีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองอ่อนไปตามความยาวของใบ ถ้าระบาดมากต้นจะแรงตาย แต่ถ้าอยู่รอดจะไม่ออกฝัก หรือติดฝักแต่ไม่มีเมล็ด ระบาด รุนแรงในฤดูฝน ที่มีอุณหภูมิต่ำและความเชื้อสูง
การป้องการกำจัด 1. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งละแปลงที่มีโรคระบาด
2. ในแหล่งที่มีการระบาดของโรครุนแรงเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และนครปฐม ต้องคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช 3. ถอนต้นที่แสดงอาการเป็นโรคเผาทำลายนอกแปลงปลูก 5. ทำลายวัชพืชอาศัยของโรคก่อนปลูก เช่น หญ้าพง และหญ้าแขม เป็นต้น
-
หนอนกระทู้หอม
ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลข้มปนเทากางปีกกว้าง 2.5 เซนติเมตร วางไข่ใต้ใบเป็นกลุ่มสีขาว มีขนสีครีมปกคลุม หนอนกัดกินทุกส่วนในระยะต้นอ่อน จะมีความเสียหายรุนแรงเมื่อหนอนมีความยาวตั้งแต่ 2 เซนติเมตร พบระบาดมากใน แหล่งปลูกจังหวัดราชบุรี และนครปฐม ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด 1. เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย 2.ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
-
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
ลักษณะและการทำลาย ตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีทองแดงกางปีกกว้าง 3.0 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา หนอนเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวโพดฝักอ่อนอายุประมาณ 20 วันถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยเจาะเข้าทำลายตั้งแต่ส่วนยอด ช่อดอกตัวผู้ และลำต้นทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต หักล้มง่าย เมื่อมีการระบาดมากจะเข้าทำลายฝักพบระบาดมากในแหล่งปลูกจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี และลพบุรีระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด 1. ควรสำรวจกลุ่มไข่หนอน รูเจาะ และยอดที่ถูกทำลายเสมอ
โดยเฉพาะช่วงข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 20-30 วัน 2. เมื่อพบการทำลาย ควรทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
การเก็บเกี่ยว
- ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บฝักอ่อนเมื่อปลายมีไหมยาว 1-5 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์หรือสุ่มปอกเปลือกดูขนาดฝักอ่อนที่ได้มาตรฐาน เพื่อกำหนดวันเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม การเก็บฝักอ่อนก่อนหรือหลังช่วงที่ไม่เหมาะสม เพียง 1 วันฝักจะไม่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานและตลาดต้องการ
- วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้มือหักฝักอ่อนให้ถึงบริเวณก้านฝักที่ติดลำต้นต้องเก็บเกี่ยวทุกวันให้แล้วเสร็จภายใน 5-10 วั นเพื่อให้ได้ขนาดฝักมาตรฐานตามที่โรงงานและตลาดต้องการ หลังจากการเก็บเกี่ยวฝักอ่อนแล้ว ควรไถกลบลำต้นเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด จะช่วยให้ดินร่วน มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น