www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุสาหกรรมอาหารสัตว์ประมาณร้อยละ 94 ของผลผลิตทั้งหมด ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ของประเทศ และมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนในบ้างปีต้องมีการนำเข้า มีพื้นที่ปลูกประมาณ 7.9 แสนไร่ ให้ผลผลิต 4.5 ล้านต้น ปัจจุบันร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกใช้พันธุ์ลูกผสม ทำให้ผลิตผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ในปี2529/30 เป็น 582 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2543/44 การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นอกจากจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีปริมาณเพียงพอ กับความต้องการของอุสาหกรรมอาหารสัตว์ ยังต้องเน้นการผลิตให้มีคุณภาพ ปอดจากการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์และมนุษย์ที่บิโภค ส่วนใหญ่จะเกิดระหว่างการเก็บเกี่ยวและการรักษาเมล็ดข้าวโพด

       1.แหล่งปลูก

       1.1 สภาพพื้นดิน

        - พื้นที่ดอน หรือลุ่มที่ไม่มีน้ำท่วมขัง

       - ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตร

       - ความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์

       - การคมนาคมสะดวก สามารถนำผลผลิตออกสู่ตลาดได้รวดเร็ว

       1.2 ลักษณะดิน

       - ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนทราย หรือดินเหนียว

       - ความสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไม่น้อยกว่า 10 ส่วนในล้านส่วนโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 60 ส่วนในล้านส่วน

       - การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี

       - ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 25 ซม.

       - ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-7.0

       1.3 สภาพภูมิอากาศ

      - อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 25-35 องศาเซลเซียส

       - ปริมาณน้ำฝนที่กระจายสม่ำเสมอ 1,00-1,200 มิลลิเมตรต่อปี

       - มีแสงแดดจัด

       1.4 แหล่งน้ำ

       - ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน

       - ควรวางแผนให้ได้รับน้ำฝนในช่วงผสมเกสร หรือเมื่ออายุ 50-60 วันหลังปลูก เพื่อให้ติดเมล็ดได้ดี

       2.พันธุ์

  • พันธ์ที่นิยมปลูก

       มีอายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ สุโขทัย และเลย มี 2 กลุ่ม

       -พันธุ์ลูกผสม พันธุ์?ฯญฒ)ลูกในปัจุบัน มี 7 พันธุ์คือ ซีพีดีเค 888, ไพโอเนีย 3013, แปซิฟิค 983, คาร์กิลล์ 919, เทพีวีนัส 49, นครสวรรค์ 72 และสุพรรณบุรี 3851

       -พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พันธุ์สุวรรณ1,สุวรรณ2,สุวรรณ5 และนครสวรรค์1

       3. การปลูก

       การเตรียมดิน ไถดินด้วยผาล 3 หรือผาล 7 ให้มีความลึก 8-10 นิ้ว แล้วตากดินไว้ประมาณ 7-15 วัน และทำการไถแปรอีก 1-2 ครั้ง

        วิธีการปลูก

  • ปลูกด้วยแรงงาน

       -ระยะระหว่างแถว 75 ซม. ระยะระหว่างหลุม 25 ซม. อัตราปลูก 8,500 ต้นต่อไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 3-4 กิโลกรัมต่อไร่

       -ใช้จอบขุดเป็นหลุมหรือแทกฃรกเตอร์ติดหัวเป็นร่อง หยอดเมล็ดหลุมละ 1-2 เมล็ด กลบดินให้แน่น

       -เมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 14 วัน หลังงอกถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

  • ปลูกด้วยเครื่องปลูก

       -ใช้แทรกเตอร์ลากจูงเครื่องปลูกพร้อมใส่ปุ๋ยติดท้าย ปรับให้มีระยะระหว่างหลุม 20 ซม. จำนวน 1 ต้นต่อหลุมหรืออัตราปลูกประมาณ 10,600 ต้นต่อไร่ 2-3 กิโลกรัมต่อไร่โดยไม่ถอนแยก

       4. การดูแลรักษา

      4.1 การให้ปุ๋ย 5 นางฟ้าทรงฉัตร

      - ดินเหนียวสีดำ ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 30-0-0 ตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่กว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่หรือสูตร 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 30-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ

       - ดินเหนียวสีแดง ดินเหนียวสีน้ำตาล หรือดินร่วนดหนียวสีน้ำตาล ให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0  อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 30-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ

       - ดินร่วน หรือดินร่วนทราย ให้ปุ๋ยเคมี 5 นางฟ้าทรงฉัตร สูตร 16-16-8 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0  อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไรโรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ

       4.2 การให้น้ำ

       ครั้งที่ 1 หลังจากการปลูก

       ครั้งที่ 2,3 ห่างจากการให้น้ำครั้งที่ 1 ครั้งละ 15 วันเท่าๆกัน

       ครั้งที่ 4,5,6 ห่างจากการให้น้ำครั้งที่ 3 ครั้งละ 7 วันเท่าๆกัน

       ครั้งที่ 7,8,9 ห่างจากการให้น้ำครั้งที่ 6 ครั้งละ 5 วันเท่าๆกัน

       ครั้งที่ 10,11,12 ห่างจากการให้น้ำครั้งที่ 9 ครั้งละ 7 วันเท่าๆกัน

       5. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

        - วัชพืช กำจัดวัชพืชเมื่อข้าวโพดอายุ 15-20 วันพร้อมกับพรวนดิน โดยใช้แรงคนหรือถ้าใช้สารเคมีให้ใช้ก่อนและหลังข้าวโพดงอก เช่น สารอะลาคลอร์,เมโทลาคลอร์,ไกลโพเสท เป็นต้น

       - โรค ได้แก่ โรคราน้ำค้าง,โรคใบไหม้แผลเล็กและโรคราสนิม ป้องกันโดยการถอนต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย หรือใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมตาแลกซิล

       - แมลง ได้แก่

       หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดกำจัดโดยสารคาร์โปฟูแรน (ฟูราดาน 3% G)

       หนอนเจาะฝักข้าวโพด กำจัดโดยสาร คาร์บาริน (เซฟวิน 85% ) หรือเมโทมิล (แลนเนท)

       หนอนกระทู้ข้าวโพด กำจัดโดยใช้เมโทมิล (แลนเนท) หรือโมโนโครโตฟอส (อะโซดริน)

       -สัตว์ ได้แก่ หนู ป้องกันโดยการวางกับดัก ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยและใช้เหยื่อผสมสารพิษในแปลงปลูกข้าวโพด

     

        6.การเก็บเกี่ยว

       - เก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัด หรือแห้งหมดทั้งแปลงแล้ว 7 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 23 เปอร์เซ็น

       - ถ้าต้องการใช้พื้นที่ปลูกพืชอื่นตามข้าวโพด ควรเก็บเกี่ยวเมื่อใบข้าวโพดเปลี่ยนเป็นสีฟางทั้งแปลง เมล็ดจะมีความชื้นต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็น

       - ไม่ควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดหลังฝนตกเพราะเมล็ดจะมีความชื้นสูง ควรปล่อยให้ฝักและต้นข้าวโพดแห้งก่อน

 

        

Tags : การใส่ปุ๋ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

view