การใส่ปุ๋ยน้อยหน่า
พันธุ์ ได้แก่ น้อยหน่าพื้นเมืองหรือน้อยหน่าฝ้าย น้อยหน่าหนังหรือน้อยหน่าญวน ลูกผสมอื่นๆ เป็นกลุ่มพันธุ์ที่กลายพันธุ์เองจากธรรมชาติที่พบในแปลงเกษตรกร
การเตรียมดิน สภาพพื้นที่ในการปลูกต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร มีปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 800-1,300 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมประมาณ 10-40 องศาเซลเซียส มีแสงแดดจัดๆ ส่องได้ทั่วถึง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพของดินร่วนปนทราย หรือเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง มีหน้าดินลึกลงไปประมาณ 40 ซม. มีค่า pH ของดิน ประมาณ 5.5-7.4 เป็นพื้นที่ที่ปราศจากโรคและสารตกค้าง มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอตลอดฤดูกาลปลูก
การปลูก หลังจากวิเคราะห์และปรับค่าของดินจนเหมาะสมแก่การเพาะปลูกแล้ว ก็ให้ทำการไถพรวนตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ต้นน้อยหน่าจะเจริญเติบโตและสามารถตั้งตัวได้ดีหากปลูกในช่วงต้นฤดูฝน นำกิ่งพันธุ์ปลูกลงในหลุมในลักษณะตั้งตรง โดยใช้ระยะปลูกที่ 4×4 เมตร เร่งการแตกพุ่มใหม่และลดการคายน้ำด้วยการตัดยอดจากกิ่งพันธุ์ออกเล็กน้อย ปักไม้ค้ำยันข้างหลุมปลูก คลุมหน้าดินบริเวณหลุมปลูกด้วยฟาง หญ้าแห้ง หรือแกลบ ตามด้วยรดน้ำให้ชุ่ม ในพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกต้นน้อยหน่าได้ประมาณ 100 ต้น
การให้น้ำ ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี
การใส่ปุ๋ย แบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้ 1.ระยะบำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 2.ระยะสร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 3.ระยะบำรุงผลผลิต ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 - 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี
การเก็บเกี่ยว หลังจากปลูกไปได้ประมาณ 120 วัน น้อยหน่าก็จะมีผลผลิตที่อยู่ในระยะให้ทำการเก็บเกี่ยวได้แล้ว ควรใช้มีดหรือกรรไกรที่คมและสะอาดตัดตรงขั้วผลในระดับของไหล่ผล ใส่ในภาชนะที่สะอาด นำไปวางในที่ร่ม แล้วทำการคัดแยกขนาดตามความต้องการของตลาดต่อไป การเก็บน้อยหน่าไว้ในอุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะทำให้น้อยหน่าสดใหม่อยู่ได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากเก็บเกี่ยวควรส่งให้ถึงมือผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด
การป้องกันกำจัดศัตรูพืชระยะแตกใบอ่อน ศัตรูพวกหนอนกินใบ ป้องกันโดยพ่นคาร์บาริล ระยะออกดอก ศัตรูหนอนกัดกินดอกอ่อน ป้องกันโดยพ่นสารคาร์บาริล ระยะติดผล โรคมั่นมี่ ป้องกันโดยพ่นสาร แคบแทน ไดเทนเอ็ม 45 โฟลิดอลและเพลี้ยแป้ง ป้องกันโดยพ่นสารคลอไพริฟอส ผสม ไซเปอร์เมทริน