www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว

       ถั่วเขียว เป็นพืชไร่ทนแล้งใช้น้ำน้อยกว่าข้าวนาปรังถึง 5 เท่า อายุสั้นเพียง 65-70 วัน ปลูได้ทุกภาคของประเทศไทย ปลูกได้ตลอดปีในดินแทบทุกชนิด นอกจากนี้ยังเป็นพืชบำรุงดินโดยปริมาณไนโตรเจนที่ทิ้งไว้ในดินประมาณ 7-9 กิโลกรัม/ไร่/ฤดูปลูก

       1.พันธุ์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

        1.1 ถั่วเขียวผิวดำ ได้แก่ พันธุ์อู่ทอง 2 และพิษณุโลก 2 ซึ่มีตลาดรับซื้อจำกักว่าถั่วเขียวผิวมัน

       1.2 ถั่วเขียวผิวมัน ได้แก่ พันธุ์อู่ทอง 1, กำแพงสน 1 และ 2 ชัยนาท 60 และ 36, มอ.1 (ชัยนาท 72) เป็นต้น

       2. ฤดูปลูก

       2.1 ต้นฤดูหนาว ปลุกในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎคม เป็นการปลูกก่อนทำนาหรือพืชไร่อื่นๆ

       2.2 ปลายฤดูฝน  ปลูกในช่วงเดือนสิงหาคม –กันยายน เป็นการปลูกหลังเก็บเกี่ยวพืชไร่หลัก เช่น โพด ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างสูงและเมล็ดมีคุณภาพสูง

       2.3 ฤดูแล้ง จะปลูกในเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ หลังจากการเก้บเกี่ยวแล้ว

       3. ดินที่เหมาะสม

       ดินที่เหมาะสมกับถั่วเขียวคือ ดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวเกาะตัวเป็นโครงสร้างที่โปร่งถ่ายเทอากาศและระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกมีอินทรียวัตถุสูงความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 6.5-7.0 และไม่มีน้ำขัง

      การเตรียมดินที่ดีทำให้เมล็ดงอกงามได้เร็วและช้าวยกำจัดวัชพืช ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวหรือหินฟอสเฟต 100-200 กิโลกรัม/ไร่โดยหว่านพร้อมกับการไถพรวนดิน

       4. วิธีการปลูก

      ก่อนปลูกควรทดสอบความงอกงามของเมล็ดพันธุ์ ถ้ามีความงอกงามต่ำกว่าร้อยละ 80 ควรเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกให้มากขึ้นวิธีปลูกทำได้ 2 แบบ คือ

       4.1 ปลูกแบบหว่าน ควรเตรียมแปลงปลูกให้ดี แล้วหว่านเมล็ดให้สม่ำเสมอมิฉะนั้นผลผลิตจะต่ำ คุณภาพเมล็ดลดลงการหว่านที่เหมาะสมคือ ใช้เมล็ดพันธุ์ 4-5 กิโลกรัม หว่านอย่างสม่ำเสมอในเนื้อที่ 1 ไร่ (แต่ถ้าใช้พันธุ์ชัยนาท 60 ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 7 กิโลกรัม/ไร่)

       4.2ปลูแบบเป็นแถว ใช้ระยะแถว 50 ซม. ระยะหลุม 20 ซม. หยอดหลุมละ 3-4 เมล็ด หรือจะโรยเป็นแถวหลังจากงอกแล้ว ถอนให้เหลือ 15-20 ต้น/แถว ยาว 1 เมตร (แต่ถ้าเป็นพันธุ์ชัยนาท 60 ถอนให้เหลือ 20-30 ต้น/เมตร)

        5.การคลุกเชื้อไรโซ

       เพื่อเพิ่มผลผลิตของถั่วเขียวก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อไรโซเบียม โดยใช้เชื้อไรโซเบียมสำหรับถั่วเขียวในอัตรา 1 ถุง (200กรัม) คลุกเมล็ดพันธุ์ 5-7 กิโลกรัม (สำหรับปลูกได้ใน 1 ไร่) โดยเคล้าเมล็ดถั่วเขียวด้วยน้ำหรือแป้งเปียกใส่ให้ทั่ว เทเชื้อไรโซเบียมลงคลุกกับเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ แล้วนำไปปลูกทันที และเมื่อหยอดเมล็ดแล้วควรกลบดินทันทีเพื่อมิให้เชื้อไรโซเบียมถูกแดดเผาเพราะจะทำให้เชื้อตายได้

       6.การใส่ปุ๋ย 5 นางฟ้าทรงฉัตร

       ใช้ปุ๋ย 16-16-8 อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 16-20-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ไร่ โดยเปิดร่องให้ลึก 6-8 นิ้ว โรยปุ๋ยทั้งหมดที่ก้นหลุมแล้วกลบด้วยดิน แล้วจึงหยอดเมล็ดลงไปกลบดินบางๆ ให้เมล็ดถั่วอยู่ใต้ผิวดิน 1-2 นิ้ว เมื่อต้นถั่วงอกออกมาจะใส่ปุ๋ยทันที

       7. การให้น้ำ

      ถั่วเขียวใช้น้ำน้อย ปลูกโดยอาศัยความชื้นที่หลงเหลืออยู่ในดินหลังปลูกพืชหลัก โดยไม่มีการให้น้ำ แต่ในกรณีที่ปลูกในที่แห้งแล้ง จะมีการให้น้ำหลังงอก

        8. การกำจัดวัชพืช

      ใช้สารเคมีประเภทควบคุมวัชพืชชนิดก่อนงอก เช่น แลสโซ หรือดูอัล โดยพ่นทันทีหลังปลูกถั่วเขียวเสร็จ และก่อนถั่วจะออกดอกใช้แรงงานด้ายหญ้า 1-2 ครั้ง ก็เพียวพอ

       ในขณะเตรียมดิน ควรไถ 2 ครั้ง ไถครั้งแรกแล้วตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน เพื่อทำลายวัชพืช แล้วจึงไถอีกครั้งหนึ่ง (ควรกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ทุก 15 วัน หลังจากการปลูก)

      

      9.โรค โรคถั่วเขียวที่สำคัญ มีดังนี้

        - โรครากและโคนเน่า : หากมีดรคโคนเน่าระบาด ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีเอพรอน 35% อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือคลุกด้วยสารไวตาแวกซ์ อัตรา 3 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือพ่นด้วยเทอราคลอร์เมื่อมีการระบาดของโรค

       - โรคใบจุด : ถ้าพบโรคใบจุดระบาดมากควรพ่นด้วยสารเบนเลทหรือทอปซิน อัตรา 1-2 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง

       - โรครากดำ : ป้องกันกำจัดโดยการปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อป้องการเชื้อราอาศัยอยู่ในเศษซากพืชสะสมในดินหรือคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมี เช้น แคปแทน อัตรา 2.5 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

        10.แมลงศัตรูถั่วเขียว

       - หนอนแมลงวันเจาะลำต้น : การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ควรพ่นด้วยสารประเภทดูดซึม เช่น คาร์โบซัลแฟน 20 % อัตร 50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร

         - หนอนเจาะดอกและฝัก : โดยในระยะออกดอก หากพบการทำลายเฉลี่ยมากกว่า 1 ดอกต่อ 1 ต้น ควรพ่นด้วยโมโนโครโตฟอส 56๔ อัตรา 40-50 ซี.ซี/น้ำ 20 ลิตรหรือโซฮาโลทรินแอล 5% อัตรา 10 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร

        - หนอนกินใบ : ใช้โมโนโครโตฟอส(อโซดริน) อัตรา 30-50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร เมื่อใบเผือกถูกทำลายถึง 30%  ขณะยังเล็กอยู่

        - เพลี้ยไฟ : ป้องกันกำจัดโดยใช้สารไตรรอโวฟอส (ฮอสตาธีออน)อัตรา 50-60 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร

        - ไรขาว : ใช้สารโมโนโครโตฟอส(อโซดริน) พ่น 2-3 ครั้ง ทุกๆ 7 วัน ระยะถั่วออกดอกถึงติดฝักอ่อน เมื่อใบถูกทำลายถึง 30%

        11.การเก็บเกี่ยวและนวด

       เมื่อฝักถั่วเขียวเปลี่ยนเป็นสีดำจำนวนมากแล้วจึงทำการเก็บเกี่ยว โดยใช้เคี่ยวเกี่ยวทั้งต้นนำมาตากแดดให้แห้งกอบจะทำให้สะดวกในการนวดแล้วเก็บเฉพาะฝักแก่แล้วนำมาตากให้แห้งสนิท จึงนำมานวดต่อไป

       สำหรับถั่วเขียวผิวดำ ควรเก็บเกี่ยวเมื่อฝักแก่ 90 % ซึ่งถั่วจะมีอายุประมาณ 77-80 วัน การนวดจะใช้ไม้ฟาด ใช้วัว-ควายย่ำ หรือใช้เครื่องนวดก็ได้

       12.การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

       เมล็ดพันธุ์ที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ควรตากแดดให้แห้งสนิท แล้วเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทดี จะสามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ข้าวปีได้ โดยความงอกไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

 

    

Tags : การใส่ปุ๋ยถั่วเขียว

view