การใส่ปุ๋ยกล้วย
พันธุ์ พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากๆคือ กล้วยไข่ มีขนาดเล็ก รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด กล้วยหอม กล้วยหอมทองผลจึงมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด กล้วยน้ำว้าเนื้อไม่ค่อยนุ่ม ประกอบด้วยแป้งมาก เมื่อสุกก็ยังมีแป้งมาก ไม่ค่อยหวาน ขนาดผลใหญ่ เมื่อนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้รสชาติดีขึ้น เนื้อเหนียวนุ่ม
การเตรียมดิน ดินที่จะ ปลูกกล้วยควรไถด้วยพานเจ็ด 2 ครั้งหรือ จะใช้รถไถเดินตามไถครั้งแรก แล้วตากหน้าดินไว้ 7 – 10 วัน เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน หากมีวัชพืชงอกขึ้นมาหลังจากนั้นให้ไถกลบอีกครั้งเพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช ให้ลดน้อยลง ดินตรงไหนที่เป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเทเพื่อป้องกันมิให้น้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน
วิธีการปลูก หลังจากวัดระยะปลูกและปักหลักเรียบร้อยแล้วขุดหลุมลึกประมาณ 50 ซม. หรือ 1 ศอก กว้างประมาณ 1 ศอกนำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกลงหลุม แล้วกลบดินเหยียบดินให้แน่น เมื่อกลบดินได้ครึ่งหลุม เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยโยกคลอนหลังจากนั้นกลบดินให้เต็มหลุมแต่ไม่ต้องกดดินนำเศษพืชมาคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้น
การให้น้ำ กล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ และขาดน้ำไม่ได้ การให้น้ำควรสังเกตหน้าดิน เมื่อดินแห้งก็ควรรดน้ำ หากให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นกล้วยและผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ หักล้มง่ายซึ่งระบบการให้น้ำพืช แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้ ระบบสปริงเกอร์ ดีที่สุด ระบบน้ำท่วมร่อง(น้ำไหลไปตามร่อง) ระบบน้ำหยด ใช้เรือรดน้ำ
การใส่ปุ๋ย ตั้งแต่เริ่มปลูก ในระยะแรกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในช่วง 2 เดือนแรก โดยให้ปุ๋ยสูตร 30-0-0 เดือนละครั้ง และเดือนที่ 3 และ 4 ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 1/2 กิโลกรัม ส่วนในเดือนที่ 5 และ 6 ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ต้นละ 1/2 กิโลกรัม
การเก็บเกี่ยว ถ้าหากปลูกกล้วยเพื่อการส่งออก ควรทำการคลุมถุง ถุงที่ใช้ควรเป็นถุงพลาสติกสีฟ้าขนาดใหญ่ และยาวกว่าเครือกล้วย เจาะรูเป็นระยะๆ และเปิดปากถุง ทำให้มีอากาศถ่ายเทได้ ถ้าหากไม่เจาะรูและปิดปากถุง อาจทำให้กล้วยเน่าได้
โรคและแมลง โรคตายพราย เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense เข้าทำลายราก และมีการเจริญเข้าไปในท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เกิดอุดตัน ใบจึงมีอาการขาดน้ำ เหี่ยวเฉา ด้วงงวง หนอนม้วนใบ