www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยละมุด

การใส่ปุ๋ยละมุด

การใส่ปุ๋ยละมุด

                พันธุ์  ได้แก่ ละมุดพันธุ์มะกอก ละมุดพันธุ์กระสวย  ละมุดพันธุ์ไข่ห่าน ละมุดพันธุ์ พจ.01 ละมุดไทย/ละมุดสีดา เป็นต้น

                การเตรียมดิน การเตรียมแปลงปลูก หากปลูกจำนวนมากจะปลูกในแปลงใหญ่ที่ต้องเตรียมดินด้วยการไถพรวนดิน พร้อมกำจัดวัชพืชเสียก่อน หลังจากนั้น ทำการขุดหลุมปลูก ขนาดหลุมกว้างประมาณ 50 ซม. ยาว 50 ซม. หรือขุดเป็นวงกลมขนาด 50 ซม. ส่วนความลึกประมาณ 30 ซม. ระยะหลุมที่ 8×8 เมตร หลังจากนั้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 500 กรัม/หลุม หรือประมาณ 3-5 กำมือ/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กรัม/หลุม แล้วคลุกผสมให้เข้ากันกับดินใส่ก้นหลุม โดยให้ก้นหลุมสูงขึ้นมาเล็กน้อยพอเหมาะสำหรับนำกล้าลงปลูก

                วิธีการปลูก นำถุงกล้าพันธุ์ลงปลูก โดยตัดถุงดำออกให้หมด แล้วค่อยวางกล้าพันธุ์ตรงกลางหลุม และกลบดินให้พูนขึ้นเหนือปากหลุมเล็กน้อย กลบด้วยฟางข้าวหรือเศษใบไม้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

                การให้น้ำ   ต้นละมุดที่เพิ่งปลูกใหม่ๆ จะต้องให้น้ำทุกๆวันในตอนเย็นแต่ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพความชุ่มชื้นของดินและสภาพแวดล้อมต่างๆ

การให้น้ำละมุดที่ให้ผลผลิตแล้วจะไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการออกดอกติดผลแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะว่าละมุดถึงแม้จะทนต่อความแห้งแล้งได้ แต่ละมุดก็เป็นไม้ผลที่ต้องการน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ละมุดออกดอกและดอกกำลังบานถึงแม้จะมีฝนตกในปริมาณที่ไม่มากนักก็ไม่กระทบกระเทือนต่อการออกดอกติดผล และในช่วงที่ผลแก่และเริ่มจะสุก หากมีฝนตกจะทำให้ความหวานลดลงได้บ้างเล็กน้อยแต่ก็ยังจัดว่ายังหวาน เมื่อฝนเริ่มหายความหวานก็จะกลับเข้าสู่สภาพเดิม ส่วนช่วงฤดูแล้งจะได้ผลที่มีความหวานที่สุดและเนื้อจะกรอบกรอบดี แต่อย่างไรก็ตามในการบังคับน้ำหรือการอดน้ำ ควรกระทำในช่วงหน้าหนาวในระยะผลแก่ก่อนจะทำการเก็บผลประมาณ 20 วัน เพื่อเร่งให้มีความหวานมากขึ้นและเนื้อกรอบ ส่วนการให้น้ำหรือบังคับน้ำเพื่อเร่งการออกดอกจะไม่ความจำเป็น ทั้งนี้เนื่องจากละมุดมีนิสัยที่มีการติดดอกออกผลมากอยู่แล้ว ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลออกไปในแต่ละรุ่น ต้นก็จะมีการสะสมอาหารพร้อมที่จะออกดอกติดผลได้ในรุ่นต่อไป

                การใส่ปุ๋ย ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15  แบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง ส่วนปริมาณที่จะใส่ก็ให้ขึ้นอยู่กับสภาพดินหรือความอุดมสมบรูณ์ของต้นละมุดว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าดินดีหรือต้นละมุดอุดมสมบรูณ์ดีก็ใส่ไม่มากนัก หรือประมาณ 2-3 กำมือ ทำการพรวนดินรอบๆทรงพุ่มแล้วโรยปุ๋ยลงไป จากนั้นพรวนดินกลบอีกครั้งหนึ่ง

                การเก็บเกี่ยว วิธีการเก็บผลถ้าละมุดยังเตี้ยก็สามารถทำได้ง่าย โดยการใช้มือเก็บ แต่เมื่อต้นละมุดมีอายุมากขึ้นทรงพุ่มก็สูงตามอายุไปด้วยในการเก็บผลก็สามารถเก็บได้ด้วยมือเฉพาะผลที่อยู่ด้านล่างๆของต้นเท่านั้น แต่ผลที่อยู่สูงๆขึ้นไปการใช้มือเก็บก็ยังทำได้ยาก ชาวสวนมักนิยมใช้เครื่องมือในการเก็บเกี่ยวผลไม้ที่เรียนว่า “ตะกร้อ” สอยผลที่แก่จัดแทน            

               โรคและแมลง ละมุดเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีโรครบกวน แต่ก็พบว่ามีแมลงบางชนิดที่คอยทำลายละมุดทั้งส่วนของต้นละผลให้ได้รับความเสียหายอยู่เสมอ และเมื่อละมุดถูกแมลงเข้าทำลาย ถ้าปล่อยไว้โดยที่ไม่รีบทำการกำจัดก็จะทำให้ได้รับความเสียหายได้ ศัตรูละมุดมีดังนี้  หนอนเจาะลำต้นและกิ่ง  หนอนเจาะผลละมุด หนอนไชเปลือกละมุด  เพลี้ยแป้ง  หนอนชอนใบ

Tags : การใส่ปุ๋ยละมุด

view