ปุ๋ยข้าวโพด|การใส่ปุ๋ยข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง
การปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูงสุด!!คลิ๊ก
การเตรียมดินปลูกข้าวโพด
การเตรียมดินโดยการไถดะตากดินให้แห้ง 7-10 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช และโรคพืชบางชนิด จากนั้น
ไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง ให้ดินละเอียด พร้อมทั้งปรับพื้นที่ และเกลี่ยดินในแปลงข้าวโพดให้สม่ำเสมอ
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ปลูกข้าวโพด
เมล็ดข้าวโพดหวานควรมีความงอกไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูกข้าวโพด
ปลูกข้าวโพดเป็นแถว โดยใช้ระยะระหว่างแถวประมาณ 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นประมาณ 25 เซนติเมตร
ปลูกหลุมละ 2 เมล็ด เมื่อต้นข้าวโพดงอกสูงประมาณ 1 คืบ หรือ 2 สัปดาห์หลังปลูก ให้ถอนต้นข้าวโพดที่อ่อนแอทิ้ง
เหลือต้นที่แข็งแรงไว้หลุมละ 1 ต้น ซึ่งจะได้ต้นข้าวโพดประมาณ 8,500 ต้นต่อไร่ หยอดเมล็ดข้าวโพดให้ลึกประมาณ
3-5 เซนติเมตร อย่าหยอดให้ลึกจนเกินไป เพราะจะทำให้เมล็ดข้าวโพดงอกช้า หรืออย่าหยอดตื้นจนเกินไป เพราะเมล็ดจะไม่งอก
ถ้าเป็นดินเหนียวควรหยอดตื้นกว่าดินทรายเล็กน้อย ควรปลูกห่างจากข้าวโพดพันธุ์อื่น ๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์,
ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดเทียน เป็นระยะทางมากกว่า 200 เมตร หรือปลูกก่อนหรือหลังการปลูก
ข้าวโพดพันธุ์อื่น ๆ ประมาณ 3 สัปดาห์
ฤดูปลูกข้าวโพด
สามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดปี แต่เดือนที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม
การป้องกันกำจัดวัชพืช
ในแปลงปลูกข้าวโพดหวานจะพบวัชพืชทั้งวัชพืชใบแคบและใบกว้าง วัชพืชที่ขึ้นเหล่านี้จะแข่งขัน
กับต้นข้าวโพดหวานแย่งน้ำแย่งอาหาร ทำให้คุณภาพและผลผลิตข้าวโพดลดลงนอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการ
ให้น้ำและยากลำบากต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดอีกด้วย
- การเตรียมดินที่ดีจะช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืช ในระยะต้นอ่อนข้าวโพดได้
- การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชอาทราซีนผสมน้ำในอัตรา 400-600 กรัมต่อไร่ควบคุมวัชพืช ก่อน
งอก ก็จะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับวัชพืชได้ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมีข้อระวังคือ ผสมน้ำฉีดพ่นขณะดินชื้น
- เมื่อข้าวโพดงอกแล้ว 20-25 วัน ทำการกำจัดวัชพืชโดยใช้รถไถยกร่องโคนต้นข้าวโพด
การให้น้ำข้าวโพด
ควรให้น้ำข้าวโพดอย่างพอเพียง โดยให้น้ำข้าวโพดทุก 10-14 วัน อย่าให้ขาดน้ำในช่วงออกดอก ออกไหม สร้าง
เมล็ด เพราะผลผลิต และคุณภาพจะลดลงอย่างมากข้อเสนอแนะ การปลูกข้าวโพดหวานจะได้ผลดี จะต้องมีแหล่งน้ำ
การใส่ปุ๋ยข้าวโพด
การใส่ครั้งแรกควรใส่ปุ๋ยข้าวโพดสูตร 15-15-15 ตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร ในอัตรา50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นก่อนปลูก
ใช้วิธีโรย หรือหว่าน
การใส่ครั้งที่ 2 เป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ด้วยปุ๋ยข้าวโพดสูตร 30-0-0 ตรา 5นางฟ้าทรงฉัตรในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่
เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 30-0-0 อีก 25 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยระหว่างร่องข้าวโพด หรือหยอดระหว่างต้นบนร่อง
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 ด้วยปุ๋ยสูตร 30-0-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อข้าวโพดอายุได้ 35 วัน
การป้องกันกำจัดโรคในข้าวโพด
โรคที่พบมากในข้าวโพดหวาน ได้แก่ โรคราน้ำค้าง (downy mildew) สามารถเข้าทำลายข้าวโพดได้ตั้งแต่ยังเป็นต้นกล้า
จนถึงออกดอก มักพบเมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ ใบที่เกิดขึ้นใหม่จะมีทางสีขาว สีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน
เกิดจากฐานใบถึงปลายใบ ถ้าเป็นมากจะทำให้ต้นแห้งตาม ให้รีบถอน แล้วเผาทิ้งเสียหรืออาจเลี่ยงโดยปลูกในระยะที่
ฝนไม่ตกชุก เช่นเดือน มีนาคม-เมษายน หรือหลังฤดูฝน หรือใช้สารเคมีทาแลกซิล (แอพรอน 35) ในอัตรา 7 กรัม/เมล็ด 1 กก.
ผสมน้ำ 10 ซี ซี (1 ช้อนแกง) คลุกเมล็ดข้าวโพดก่อนปลูก สามารถป้องกันโรคนี้ได้ตลอดฤดูปลูก โรคอื่น ๆ เช่น โรคใบ
ไหม้แผลเล็ก (southern corn leaf blight) โรคใบไหม้แผลใหญ่ (northern corn leaf blight) โรคราสนิม
(rust) โรคราเขม่าดำ (smut) โรคไวรัส (virus) เป็นต้น
การป้องกันกำจัดแมลง
แมลงที่พบบ่อยได้แก่หนอนเจาะต้นข้าวโพด จะวางไข่เป็นกลุ่มซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลาหนอนเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวโพดหวาน
อายุ 20 วัน ถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยเจาะเข้าทำลายส่วนยอด ช่อดอกตัวผู้ และลำต้นทำให้ต้นชะงักการ
เจริญเติบโต หักล้มง่าย เมื่อมีการระบาดรุนแรง จะเข้าทำลายฝัก ควรสำรวจกลุ่มไข่,หนอน, รูเจาะ และ ยอด
ที่ถูกทำลายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงข้าวโพดหวานอายุ 20-45 วัน เมื่อเริ่มพบการทำลาย ควรทำการพ่น
ด้วยไซเพอร์เมทริน 10 มิลลิลิตร หรือ ไตรฟลูมูรอน 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตรหนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนจะกัดกินเส้นไหม
และเจาะเข้าไปอาศัยกัดกินปลายฝัก ทำให้คุณภาพฝักเสียหายป้องกันกำจัดโดย ควรสำรวจหนอนที่ปลายฝักข้าวโพด
หวานในระยะผสมเกสร ถ้าพบว่ามีการทำลาย ควรพ่นด้วยฟลูเฟนนอกซูรอน 20มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน
เพลี้ยไฟ เมื่ออายุ 1-2 สัปดาห์ จะพบปัญหาเพลี้ยไฟ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ให้ใช้สารเคมีกำจัด
เพลี้ยไฟ เช่น พอสส์ ตามอัตราแนะนำแมลงอื่น ๆ เช่น มอดดิน หรือมอดช้าง (ground weevil)
หนอนกระทู้หอม หรือหนอนหลอดลม (beet armyworm) หนอนเจาะฝักข้าวโพด(corn earworm) เป็นต้น
การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพด
- นับอายุ โดยเฉลี่ยข้าวโพดหวานจะมีอายุเก็บเกี่ยวฝักสดสำหรับรับประทาน ประมาณ65-72 วัน
หลังปลูก
- การสังเกต โดยสังเกตจากไหมที่ปลายฝักข้าวโพดเหี่ยว หรือยุบตัว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- นับจากข้าวโพดออกไหม 50 % เป็นวันแรก เมื่ออายุ 20 วันหลังออกไหม 50 %สามารถเก็บเกี่ยวได้
- ในกรณี ปลูกในฤดูแล้ง ที่มีอากาศหนาวเย็น จะท าให้ข้าวโพดงอกช้ากว่าปกติ และมีการ
เจริญเติบโต และพัฒนาฝักช้า จึงทำให้อายุการเก็บเกี่ยวจะยาวนานกว่าการปลูกในฤดูฝน
- ข้าวโพดมีช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว ประมาณ 3 วัน
- ข้าวโพดฝักสดควรถึงผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด ภายใน 1-2 วัน
- ไม่ควรกองข้าวโพดสูงเกินไป จะทำให้น้ำตาลภายในเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นแป้ง ทำให้ความหวาน
ลดลง รสชาติจืดชืด
สภาพ อุณหภูมิปกติ ควรเก็บข้าวโพดในช่วงเช้า หรือเย็น
ปุ๋ยข้าวโพด
ปุ๋ยข้าวโพด
ปุ๋ยข้าวโพด
ปุ๋ยข้าวโพด
ปุ๋ยข้าวโพด