www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยถั่วฝักยาว

การใส่ปุ๋ยถั่วฝักยาว

พันธุ์ถั่วฝักยาวที่นิยมปลูกแบ่งพันธุ์ได้ 2 ชนิด

-ถั่วเนื้อ ลักษณะฝักจะใหญ่ อ้วน และสั้นกว่าถั่วกระดูก (ถั่วเม็ด,ถั่วสั้น) พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ ศรแดง (ลำน้ำชี,ลำน้ำโขง) ตราเครื่องบิน

-ถั่วกระดูก ลักษณะฝักจะยาวมาก ประมาณ 70-100 เซนติเมตร ลักษณะฝักจะเล็ก ยาว มองเห็นข้อที่มีเม็ดได้ เช่นพันธุ์ศรแดง(เบอร์ 4,5) ตราเครื่องบิน และลูกผสมของบริษัทอื่นๆ

การเตรียมดินลักษณะปลูกถั่วฝักยาวทั่วไปจะปลูกแบบร่องสวน แบบผักร่อง หรือแบบชักร่อง จะเริ่มด้วยการไถ และตากดินประมาณ 7-10 วัน ตีดิน (พรวนดิน) ชักร่อง ด้วยรถแทรคเตอร์ วัดระยะปลูก และตีหลุม โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก

วิธีการปลูกระยะปลูกประมาณ 75x120-150 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว และพ่นสารเคมี โดยหยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด เมื่อขึ้นมามีใบจริงแล้วถอนแยกเหลือหลุมละ 2 ต้น  โดยก่อนหยอดเมล็ดคลุกด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันมด และแมลงในดิน การปักค้างถั่วฝักยาวก็ปฏิบัติเหมือนค้างบวบและหมั่นคอยจับยอดให้เลื้อยบนค้าง

การให้น้ำระยะก่อนงอกต้องให้น้ำอย่าให้ขาด และไม่แฉะหรือมีน้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้เมล็ดเน่า เมื่อขึ้นมาแล้วก็ให้น้ำอยู่เสมอ

การใส่ปุ๋ยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกรองก้นหลุม ครั้งที่สองเมื่ออายุถั่วฝักยาวได้ 25-30 วันใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่

การเก็บเกี่ยวถั่วพันธุ์หนักจะเริ่มเก็บฝักได้ เมื่ออายุประมาณ 50-60 วัน และถ้าเป็นถั่วพันธุ์เบาจะเก็บได้เมื่ออายุ 50-55 วัน โดยเลือกเก็บเฉพาะระยะส่งตลาด คัดฝักสั้น ยาว มัดด้วยยาง ชั่งกิโลใส่ถุงหรือ มัดเป็นมัดๆละ 5 กก.

โรคถั่วฝักยาว จะพบโรคระบาดคือ โรคราน้ำค้าง โรคราแป้งและโรคราสนิม ควรพ่นด้วย แมนโดเซป  ไดเมทโทม็อบ หรือ โปรคลอราช

แมลงที่พบมากคือ เพลี้ยจักจั่น หนอนกระทู้ฝัก หนอนเจาะฝัก ไรแดง ป้องกันด้วย อิมิดาโดลพริด  เบต้าไซฟลูทริน  และโอไมท์

Tags : การใส่ปุ๋ยถั่วฝักยาว

view