www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยกุยช่าย

การใส่ปุ๋ยกุยช่าย

            พันธุ์ กุยช่าย แบ่งได้เป็น

            กุยช่ายใบ เช่น Broad leaf, Ping

            กุยช่ายดอกเช่น Tai Jiu

            การเตรียมดินการปลูกกุยช่ายควรมีการไถดินตากให้นานๆไม่ต่ำกว่า 15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ปูนขาว เก็บวัชพืช ที่สำคัญพื้นที่ปลูกต้องไม่มีแห้วหมูขึ้น ย่อยหรือพรวนดิน ชักร่องแบบร่องผัก หรือเตรียมดินปลูกแบบร่องสวน โดยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่มรอการปลูก

            การเพาะกล้า แบ่งได้คือ

            -การเพาะกล้าแบบเพาะเมล็ด ทั้งในกระปะเพาะ หรือเพาะในแปลงเพาะ

            -การเพาะเมล็ดในกระบะเพาะ โดยการนำดินเพาะที่ผสมแล้ว ลงหลุมกระบะเพาะ แล้วนำเมล็ดกุยช่ายหยอด 3-5 เมล็ดต่อหลุม เมล็ดจะงอกภายใน 7-14 วัน โดยการรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอ จนอายุกล้าประมาณ 55-60 วัน ก็นำไปปลูกได้

            -การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ เริ่มจากการเตรียมแปลงเพาะเหมือนกับการเตรียมแปลงเพาะพืชทั่วไป หว่านเมล็ดลงแปลงบางๆโรยฟางข้าวทับรดน้ำให้ชุ่ม จนกล้าอายุ 55-60 วันก็นำกล้าไปปลูกลงแปลงปลูกได้

            -การปลูกโดยการแยกกอ ใช้ต้นแม่พันธุ์อายุ 6 เดือน ขึ้นไป ขุดแล้วแยกกอ ก่อนปลูกควรตัดใบออก เพื่อรดการคายน้ำ ตัดรากให้เหลือ 1-2 เซนติเมตร จุ่มยากันราก่อนปลูกด้วยจะเป็นการดี

            การปลูก เมื่อได้กล้าแล้วรดน้ำแปลงที่จะปลูกให้ชุ่ม นำกล้าปลูกใช้ระยะปลูก 30x30 เซนติเมตร หลุมละ 3-4 ต้น รดน้ำให้ชุ่มกุยช่ายจะอยู่ได้ 3-4 ปี แล้วแยกกอปลูกแปลงใหม่

            การใส่ปุ๋ย จะเน้นเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูป และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยพิจารณาใส่หลังปลูก 7 วัน และ 30 วัน พออายุได้ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 2:1 ผสมกันใส่แปลงกุยช่าย และเสริมด้วยการพ่นปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยน้ำที่ธาตุอาหารหลัก และ ธาตุอาหารรอง ทุกๆ อาทิตย์

            การให้น้ำ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ และพิจารณาให้ตามความเหมาะสมกับความต้องการของพืช

            การเก็บเกี่ยว กุยช่ายสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 6 เดือน เริ่มทำการเก็บดอกได้ ส่วนท่าตัดต้นขาย จะเริ่มเมื่ออายุ 1 ปี เพื่อเลี่ยงกอให้มีขนาดใหญ่ การเก็บดอกใช้มือเด็ดดอกที่ยังไม่บาน (หากบานจะเป็นดอกที่แก่แล้ว แต่ควรเก็บดอกด้วย) และสูงเท่าระดับยอดนำมาคัดขนาด มัดเป็นกำๆ ด้วยยางวง ตัดโคนก้านคงเหลือก้านดอกยาว 30-40 เซนติเมตร ส่วนการตัดต้นใช้มีดคมๆ ตัดโคน ชิดดิน นำไปล้างน้ำ แต่งใบ ลอกใบที่ถูกทำลาย หรือใบล่างที่มีสีเหลืองออก มัดละ 1 กิโลกรัม ด้วยยางวงขนาดใหญ่ รอการจำหน่าย

            โรค ที่พบคือโรคต้นและดอกเน่า และโรคต้นเหลืองแคระแกรน ป้องกันกำจัดโดยการตากดิน ใส่ปูนขาว ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และการจัดการดินที่ดี ส่วนจุดที่เป็นโรค ถากดินทิ้งแล้วโรยด้วยปูนขาว

            แมลง ที่พบคือ หนอนชอนใบ ป้องกันกำจัดโดยการพ่นด้วย อะมาเม็กติน

Tags : การใส่ปุ๋ยกุยช่าย

view