www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ปุ๋ยเคมีผสมและการผลิต (Compound fertilizer)

ปุ๋ยเคมีผสมและการผลิต (Compound fertilizer)

ปการผสมปุ่ยเคมี

ปุ๋ยเคมีผสม
(Compound fertilizer)
การนำเอาแม่ปุ๋ยตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้ได้ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหารหลัก
ตามที่ต้องการจะต้องมีธาตุอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปด้วย เมื่อผสมแล้วอาจรวมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุต่าง
ได้ทำปฏิกิริยากันทางเคมีกัน หรืออาจแยกเนื้อกันอยู่แบบการผสมเชิงกลก็ได้ ปุ๋ยผสมที่มีธาตุ NPK อยู่ครบทั้ง
สามธาตุเรียกว่า ปุ๋ยสมบูรณ์ (Complete fertilizers) ในท้องตลาดปุ๋ยที่เกษตรกรซื้อไปใช้มักเป็นปุ๋ยผสมเสีย
ส่วนใหญ่ เพราะให้ธาตุอาหารหลายตัวพร้อมๆ กัน เช่น ปุ๋ยสูตร 16-20-0, 15-15-15, และ 13-13-21 เป็นต้น
ปุ๋ยเคมีแต่ละชนิด เช่น ปุ๋ยแอมโนเนียมซัลเฟต [(NH4)2SO4] และปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต [(NH4)2HPO4]
เป็นสารประกอบ ในการจำแนกปุ๋ยได้กำหนดให้เรียกชื่อปุ๋ยประเภทหนึ่งว่า ปุ๋ยเชิงประกอบ (Compoundfertilizer)
และมีการใช้คำนี้ในความหมายที่แตกต่างกัน หลักการจำแนกปุ๋ยเคมีโดยถือเอาจำนวนของธาตุหลัก
เป็นเกณฑ์ ปุ๋ยที่มีธาตุหลักธาตุเดียว เช่น มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือโปแตสเซียมเพียงธาตุใดธาตุหนึ่ง เรียกว่า
ปุ๋ยเชิงเดี่ยว (Single fertilizer) ส่วนปุ๋ยที่มีธาตุหลักมากกว่าหนึ่งธาตุนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามวิธีการผลิต
คือปุ๋ยเชิงผสม (Mixed fertilizer) และปุ๋ยเชิงประกอบ (Compound fertilizer)
ประเภทของการผลิตปุ๋ยเคมี
เราสามารถแบ่งประเภทของการผลิตปุ๋ยเคมีออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) การผลิตปุ๋ยเคมีประเภทแม่ปุ๋ย หมายถึงการนำเอาวัตถุดิบขั้นพื้นฐาน เช่น แร่ ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ
มาสังเคราะห์เป็นสารประกอบทางเคมี เพื่อให้มีธาตุอาหารหลักหนึ่งหรือสองธาตุเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ตัวอย่าง ได้แก่ โรงงานผลิตปุ๋ยเคมีที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งผลิตแม่ปุ๋ย ได้แก่ แอมโมเนีย, แอมโมเนียม
ซัลเฟต และยูเรีย เป็นต้น
2) การผลิตปุ๋ยเคมีประเภทปุ๋ยผสม หมายถึงการที่ได้นำเอาแม่ปุ๋ยสำเร็จรูปแล้วหรือกึ่งสำเร็จรูปมา
ผสมกัน หรือทำปฏิกิริยากันให้ได้เป็นสารผสม หรือสารผสมกึ่งสารประกอบ เพื่อให้ได้ปริมาณและสัดส่วนของ
ธาตุอาหารหลักตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป แม่ปุ๋ยกึ่งสำเร็จรูป หมายถึงการนำเอาสารประกอบบางตัว เช่น NH3,
H3PO4, HNO3 หรือ H2SO4 ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตแม่ปุ๋ยมาเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบผลิตปุ๋ยผสมด้วย
ตัวอย่างการผลิตประเภทนี้ ได้แก่ โรงงานผลิตปุ๋ยเคมีผสมของบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด ตามภาพที่ 1
300
โรงเก็บปุ๋ย
ขนไปจำหน่าย
โรงงานผลิตปุ๋ยผสม
โรงงานผลิตแอมโมเนียม
ไนเตรท
แม่ปุ๋ย
แอมโมเนียม
ซัลเฟต
โรงงานผลิตก๊าซ
แอมโมเนีย
แม่ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยยูเรีย
โรงงานแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ
ไอน้ำ
คาร์บอนไดออกไซด์
หินปูน
แม่ปุ๋ยฟอสเฟต
แม่ปุ๋ยโปแตส
โรงงานผลิตแม่ปุ๋ย
แคลเซียม แอมโมเนียม
ไนเตรท
โรงงานผลิตกรดไนตริก
โรงงานฟอกก๊าซจากอากาศ
ไนโตรเจน
KNO3
ออกซิเจน
อา
กา

โรงงานอุตสาหกรรม
ภาพที่ 1 แสดงการผลิตปุ๋ยเคมีประเภทปุ๋ยผสม
ที่มา: สรสิทธิ์ (2521)
3) การผลิตปุ๋ยเคมีประเภทสมบูรณ์แบบ หมายถึงการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นนำเอาวัตถุดิบพื้นฐาน เช่น แร่
อากาศ ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ ทำการผลิตแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสเฟตหรือโปแตส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลาย
อย่าง พร้อมกันนั้นก็ทำการผลิตปุ๋ยผสมต่อเนื่องกันไปเลย ได้ผลผลิตทั้งแม่ปุ๋ยและปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ โรงงาน
แบบนี้มีในประเทศที่เจริญทางเทคโนโลยีของปุ๋ยสูงๆ เท่านั้น ตัวอย่างเช่นในประเทศฮอลแลนด์ (ภาพที่ 1) ใน
โรงงานนี้จะประกอบด้วยโรงงานย่อยๆ หลายโรงงาน เช่น โรงงานผลิตแอมโมเนียจากก๊าซธรรมชาติ โรงงาน
แยกก๊าซจากอากาศ โรงงานผลิตปุ๋ยยูเรีย ผลิตกรดไนตริก ผลิตกรดกำมะถัน และแอมโมเนียมซัลเฟต ผลิต
แคลเซียม แอมโมเนียมไนเตรท และโรงงานผลิตปุ๋ยผสมจากวัตถุดิบที่ได้โดยตรงจากโรงงานและภายนอก
ข้อสังเกตในการใช้ปุ๋ยผสม
1. ความสมดุลของธาตุอาหารในปุ๋ยผสม แล้วแต่ชนิดของพืช และปริมาณที่มีอยู่เดิมในดิน โดยทั่วไป
สำหรับพืชไร่มักใช้สัดส่วนระหว่าง N:P = 1:1 หรือ N:P:K = 2:2:1 หรือ 1:1:1 (ดินมี K ต่ำ)
2. ขนาดของเม็ดปุ๋ย โดยเฉพาะสำหรับฟอสเฟตขนาดโต และเม็ดที่แข็งจะทำให้การตกค้างในดินจาก
ปฏิกิริยาต่างๆ ลดลง ทำให้เกิดประโยชน์ต่อพืชสูงขึ้น ปุ๋ยผสมที่ทำจากหินฟอสเฟตควรผ่านการบดอย่างน้อย
80 เมชขึ้นไป
3. ความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ย และการหว่านปุ๋ย ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว ก็ไม่ให้ผล
แตกต่างกัน แต่ถ้าความอุดมสมบูรณ์ดินต่ำจะทำให้การเจริญเติบโตผิดกันมาก จึงควรใช้แต่ปุ๋ยที่มีความ
สม่ำเสมอดี และเป็นเนื้อเดียวกัน
301
หินฟอสเฟต
ผ่านH2SO4 และH3PO4 ลงไป
Acidulation
การแปรสภาพหิน
ฟอสเฟต Ammoniation ได้สารเหลวข้นที่เพิ่มไนโตรเจน
แล้วตามด้วยแอมโมเนีย แล้วทำการ
ปั้นเม็ดเป็นผสมเม็ดต่อไป
การเพิ่มไนโตรเจน ด ้วย NH3
ผ่านก๊าซลงไป
ใส่แม่ปุ๋ยโปแตส เช่น KCl, K2SO4
กรดไนตริก
ภาพที่ 2 แสดงกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยปั้นเม็ด Nitric Phosphate Slurry
แสดงทั้งการผลิตปุ๋ย N-P & N-P-K
ที่มา: สรสิทธิ์ (2521)
4. วิธีการใส่ ใส่เป็นแถวฝังแล้วกลบก่อนปลูกได้ผลดีสำหรับพืชรากตื้นเพราะเกิดการชะล้างน้อย ใส่
แบบโรยข้างแถวอาจเกิดอันตรายต่อรากได้ การหว่านก็เหมาะสำหรับพืชบางชนิด
5. เวลาการใส่ปุ๋ยโปแตสและฟอสเฟต ถ้าใส่แล้วคลุกกับดินให้ดีก็ใส่ก่อนปลูกได้ ส่วนไนโตรเจน
เคลื่อนที่ได้ดีควรใส่ก่อนปลูกในระยะเวลาสั้นๆ หรือใส่หลังงอกได้แต่เมื่อเป็นปุ๋ยผสมแล้วก็เท่ากับใส่พร้อมกัน
ทุกธาตุไปเลย
6. ผลของปุ๋ยต่อ pH ของดิน ปุ๋ยไนโตรเจนโดยเฉพาะพวกที่เป็นแบบแอมโมเนียม และมีอนุมูลกรด
SO4
=, Cl- และ NO3
- เมื่อใช้ในอัตราสูงจะทำให้ดินเป็นกรดได้ เพราะจุลินทรีย์ในดินจะเปลี่ยนแอมโมเนียมให้
เป็นไนเตรท และเกิด H+ ประกอบกับอนุมูลกรด ดังกล่าวข้างต้นด้วย
ปุ๋ยเชิงผสม (Mixed fertilizer) คือปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้
ได้ธาตุอาหารตามต้องการ สำหรับปุ๋ยเคมีแต่ละชนิดที่นำมาใช้ผสมเข้าด้วยกันเรียกว่า แม่ปุ๋ย (Fertilizer
materials) ปุ๋ยผสมแบ่งตามวิธีการผลิตได้ 3 อย่างคือ 1) ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า (Bulk blending) 2) ปุ๋ยผสม
แบบปั้นเม็ดแบบคอมเพ็ก (Compaction granulation) และ 3) ปุ๋ยผสมแบบปั้นเม็ดด้วยไอน้ำ /น้ำ
(Steam/water granulation) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
302
ตารางที่ 1 ลักษณะความแตกต่างของปุ๋ยผสมแต่ละชนิด
วิธีการผลิต ลักษณะของปุ๋ย
ผสมแบบคลุกเคล้า ปุ๋ยผสมประกอบด้วยแม่ปุ๋ยต่างชนิดซึ่งคลุกเคล้ากัน โดยสภาพ และ
รูปทรงของเม็ดปุ๋ยเหมือนกับก่อนที่จะนำมาผสม
ผสมแบบปั้นเม็ดแบบคอมเพ็ก ปุ๋ยผสมแต่ละเม็ดมีส่วนผสมสม่ำเสมอ รูปทรงของเม็ดปุ๋ยคล้ายเม็ดทราย
ผสมปั้นเม็ดด้วยไอน้ำ/น้ำ ปุ๋ยผสมแต่ละเม็ดมีส่วนผสมสม่ำเสมอ รูปทรงของเม็ดปุ๋ยค่อนข้างกลม
ที่มา : ยงยุทธ และคณะ (2551)
ปุ๋ยผสมมีสูตรต่างๆ หลายสูตร และปุ๋ยผสมสูตรเดียวกันก็อาจมีรูปของธาตุอาหารเหมือนกันถ้า
ใช้แม่ปุ๋ยแบบเดียวกัน หรือแตกต่างกันก็ได้หากใช้แม่ปุ๋ยต่างกัน
ปุ๋ยเชิงประกอบ (Compound fertilizer) คือ ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี และมีธาตุ
อาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป ซึ่งได้อธิบายกระบวนการผลิตโดยละเอียดแล้ว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ปุ๋ย ธาตุหลักที่มี่ในปุ๋ย
1. โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต
2. ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต
3. โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต
4. โปแตสเซียมไนเตรท
5. ไนโตรฟอสเฟต
6. ไนโตรฟอสเฟตเพิ่มปุ๋ยโปแตส
ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส
ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม
ไนโตรเจนและโปแตสเซียม
ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม
ลักษณะสำคัญของปุ๋ยเชิงประกอบจากตัวอย่างข้างต้นมีดังนี้ 1) ปุ๋ยลำดับ 1-4 แต่ละอย่างเป็น
สารประกอบเพียงชนิดเดียว ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตแต่ละรายจึงมีสูตรปุ๋ยใกล้เคียงกัน อาจแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่
กับปริมาณของสิ่งเจือปน ส่วนปุ๋ยลำดับที่ 5 และ 6 มีสารประกอบหลายชนิดอยู่ร่วมกัน จึงอาจผลิตปุ๋ยได้หลาย
สูตร โดยจัดสัดส่วนของสารประกอบเหล่านั้นตามที่กำหนดไว้ และ 2) เมื่อผลิตเป็นปุ๋ยชนิดเม็ด ทุกเม็ดมีเนื้อ
เดียว และองค์ประกอบทางเคมีของแต่ละเม็ดเหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ปุ๋ยเชิงผสมและปุ๋ยเชิงประกอบวัตถุประสงค์ในการใช้คล้ายกัน ถึงแม้ว่า
จะมีกระบวนการผลิตแตกต่างกัน ดังนั้นศูนย์พัฒนาปุ๋ยระหว่างประเทศ (International Fertilizer-
Development Center, IFDC) และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations-
Industrial Development Organization, UNIDO) จึงได้รวมปุ๋ยเชิงผสมและปุ๋ยเชิงประกอบเข้าด้วยกัน แล้ว
เรียกเพียงชื่อเดียวว่าปุ๋ยเชิงประกอบ (Compound fertilizer) และกำหนดความหมายว่าปุ๋ยเชิงประกอบ คือ
ปุ๋ยเคมีซึ่งมีธาตุหลักตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป ปุ๋ยนั้นจะผลิตด้วยกระบวนการทางเคมีหรือการผสม (Mixing หรือ
Blending) ก็ได้ (IFDC/UNJIDO, 1998)
303
แม้ว่าศูนย์พัฒนาพัฒนาปุ๋ยระหว่างประเทศ และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ
ได้อธิบายความหมายของปุ๋ยเชิงประกอบไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม แต่หลายประเทศก็ยังคงใช้สองคำเดิม คือ
ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยเชิงผสม ในความหมายที่แตกต่างกัน ดังตัวอย่างในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบความหมายของปุ๋ยเชิงประกอบและปุ๋ยเชิงผสมที่ใช้ใน 3 ประเทศ
ประเทศ ปุ๋ยเชิงประกอบ ปุ๋ยเชิงผสม
ไทย ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมาวิธีทางเคมี
และมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุ
ขึ้นไป
ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีหรือประเภท
ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตาม
ต้องการ
มาเลเซีย ปุ๋ยเคมีเนื้อเดียว (Homogeneous) ซึ่งมี
ธาตุต่อไปนี้ตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป คือ
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และ
แมกนีเซียม
ปุ๋ยที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ เข้า
ด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุต่อไปนี้ตั้งแต่สองธาตุ
ขึ้นไปคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม
และแมกนีเซียม
ออสเตรเลีย ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี และ
มีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้น
ไป
ปุ๋ยที่ได้จากการผสมทางกายภาพของปุ๋ยเคมี
สอง หรือมากกว่าสองชนิดเข้าด้วยกัน อาจ
เป็นปุ๋ยชนิดผงหรือชนิดเม็ด
ที่มา: ยงยุทธ และคณะ (2551)
ในปัจจุบันปุ๋ยเชิงประกอบชนิดเม็ดได้รับความนิยมมาก เนื่องจากสะดวกในการซื้อขนย้าย เก็บ
และใส่ในแปลง ประกอบกับเป็นปุ๋ยเพียงอย่างเดียวที่ใช้ในแต่ละครั้งก็ให้ธาตุอาหารตามที่กำหนด แทนที่จะใช้
ปุ๋ยหลายชนิด นอกจากนี้การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบ สามารถกำหนดสูตรปุ๋ยให้มีสัดส่วนของธาตุอาหาร เหมาะสม
กับดินแต่ละประเภทและพืชแต่ละชนิด การให้คำแนะนำแก่เกษตรกรจึงทำได้ง่ายในกรณีที่ภาครัฐมีโปรแกรม
อุดหนุนด้านราคาปุ๋ย เพื่อการผลิตพืชใดก็อาจกำหนดสูตรปุ๋ยหรือกลุ่มของสูตรปุ๋ยที่เหมาะกับพืชนั้นได้
สำหรับกระบวนการผลิตปุ๋ยเชิงประกอบมี 5 กระบวนการ คือ
1) ปั้นเม็ดด้วยไอน้ำ/น้ำ
2) ปั้นเม็ดเชิงเคมี
3) การเกิดหยด หรือพริลลิ่ง
4) ปั้นเม็ดแบบคอมเพ็ก
5) ผสมแบบคลุกเคล้า
การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบโดยกระบวนการปั้นเม็ดด้วยไอน้ำ/น้ำ
การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบโดยกระบวนการปั้นเม็ดด้วยไอน้ำ/น้ำ เรียกย่อๆ ว่า การปั้นเม็ดด้วยไอ
น้ำ มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2493 และเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน
304
หลักสำคัญของกระบวนการนี้คือ
1) เลือกแม่ปุ๋ยที่มีความเข้ากันได้ทางเคมี กล่าวคือ จะไม่ทำปฏิกิริยากันจนเป็นเหตุให้ปุ๋ย
คุณภาพของปุ๋ยผสมต่ำลง เช่น ความชื้นสัมพัทธ์วิกฤตของปุ๋ยลดลง จนดูดความชื้นง่าย และจับตัวเป็นก้อน
สภาพละลายน้ำของปุ๋ยลดลง หรือมีการสูญหายของธาตุอาหารในรูปแก๊ส
2) นำแม่ปุ๋ยชนิดผงมาผสมกันให้ได้สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
3) เติมไอน้ำ/น้ำในถังผสมเพื่อให้ปุ๋ยผสมมีความชื้นพอเหมาะสำหรับการเกิดเม็ด
4) ส่งไปยังเครื่องปั้นเม็ด ความชื้นจากไอน้ำ/น้ำ จะช่วยให้ปุ๋ยผงเชื่อมตัวและอัดกันเป็นก้อน
หรือเม็ดด้วยการรวมมวล ซึ่งเป็นการเกิดเม็ด เนื่องจากอนุภาคปุ๋ยอัดตัวกันอย่างแนบชิด แล้วมีสารเชื่อมช่วย
ประสานให้อุณหภูมิเหล่านั้นติดเป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับสารเชื่อมในเม็ดก็จะมาจากสารละลายของปุ๋ยบางส่วน
ซึ่งเมื่อแห้งก็จะทำหน้าที่เป็นสะพานเกลือ ส่วนเม็ดปุ๋ยชื้นที่เกิดขึ้นก็หมุน และร่วงหล่นอยู่ภายในอุปกรณ์ปั้นเม็ด
ที่หมุนรอบแกนอยู่ตลอดเวลา สำหรับเครื่องปั้นเม็ดที่ใช้ได้ผลดีคือ แบบท่อ หรือถังหมุน และจานปั้นเม็ด การ
เติมน้ำหรือไอน้ำลงไปในปุ๋ยผงประมาณ 5% เพื่อช่วยในการขึ้นรูปเม็ด อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้บ้าง แต่ถ้า
เลือกแม่ปุ๋ยที่เข้ากันได้ทางเคมีมาผสม ผลของปฏิกิริยาทางเคมีจะไม่กระทบต่อคุณภาพของปุ๋ยผสมที่ได้
5) ปุ๋ยที่เป็นเม็ด และได้รูปทรงแต่ยังชื้นอยู่ จะทยอยออกมาจากปั้นเม็ด ส่งไปอบให้แห้งแล้วคัด
ขนาดด้วยตะแกรงชุดให้ได้ขนาดเม็ดที่ต้องการ
6) ลดอุณหภูมิของปุ๋ยในท่อลมเย็นก่อนบรรจุกระสอบ หรือส่งไปยังโรงเก็บ
7) ปุ๋ยที่เม็ดโตเกินไปจะถูกนำไปบด แล้วส่งเวียนกลับไปยังเครื่องปั้นเม็ดพร้อมกับอนุภาคเล็ก
และวัตถุดิบจำนวนใหม่
การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบด้วยกระบวนการปั้นเม็ดเชิงเคมี (Chemical granulation)
การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบที่มีธาตุหลัก 3 ธาตุ ด้วยกระบวนการปั้นเม็ดเชิงเคมี มีความซับซ้อน
มากกว่ากระบวนการอื่น แม้ว่าบางส่วนของกระบวนการนี้จะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการปั้นเม็ดด้วย
ไอน้ำ/น้ำ ที่กล่าวมาแล้ว แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ วัฏภาคของเหลว (Liquid phase) ซึ่งใช้เชื่อมให้เกิดเม็ด
ได้มาจาก 1) ผลปฏิกิริยาระหว่างแอมโมเนียมกับกรดฟอสฟอริก และ/หรือกรดไนตริก หรือ 2) สารละลายข้น
ของยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท
สำหรับกลไกการเกิดเม็ดปุ๋ยอาจมีได้ 2 แบบ คือ 1) ในกรณีที่มีการเติมปุ๋ยซึ่งเป็นของแข็งลงไป
ค่อนข้างมาก และปุ๋ยดังกล่าวละลายได้เพียงบางส่วน การเกิดเม็ดจะเป็นแบบการรวมมวล 2) หากเติมปุ๋ย
ของแข็งลงไป แต่ปุ๋ยนั้นละลายได้ในสารละลายแอมโมเนียมฟอสเฟตและ/หรือแอมโมเนียมไนเตรทข้น เช่น
โปแตสเซียมคลอไรด์ แล้วส่งปุ๋ยเหลวข้นไปยังเครื่องปั้นเม็ด การเกิดและการเพิ่มขนาดของเม็ดปุ๋ยจะเป็นแบบ
เพิ่มพูนมวล โดยเริ่มจากอนุภาคเล็กๆ ขึ้นก่อน และอนุภาคนั้นก็โตขึ้น เนื่องจากมีเนื้อปุ๋ยบางๆ มาเคลือบ
หลายๆ ชั้น
โรงงานที่ใช้กระบวนการนี้ต้องมีท่อให้ความเย็น ซึ่งความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศต่ำ เพื่อลด
อุณหภูมิและความชื้นในเม็ดปุ๋ย จนถึงระดับที่สารประกอบต่างๆ ในเม็ดปุ๋ยไม่ทำปฏิกิริยากันอีก เพราะหากยังมี
ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นขณะที่เก็บ เม็ดปุ๋ยจะจับกันเป็นก้อน
305
ปุ๋ยเชิงประกอบที่ผลิตโดยกระบวนการปั้นเม็ดเชิงเคมี แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1) ปุ๋ยเชิงประกอบ
ที่ในปุ๋ยแต่เม็ดมีเกลือเพียงชนิดเดียว เช่น โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต และไดแอมโมเนียมฟอสเฟต และ
2) ปุ๋ยเชิงประกอบที่อยู่ในปุ๋ยแต่ละเม็ดมีเกลือหลายชนิด ได้แก่ ปุ๋ยไนโตฟอสเฟต หรือปุ๋ยที่มีธาตุหลักครบ
3 ธาตุ ซึ่งใช้วัตถุดิบอย่างอื่น โดยในปุ๋ยแต่ละเม็ดมีสารประกอบหลายชนิด เช่น โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต
ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต และอาจมีโปแตสเซียมคลอไรด์ หรือโปแตสเซียมซัลเฟต ผสมกันเป็นเนื้อเดียว
การเกิดหยด (Drop formation) หรือพริลลิ่ง (Prilling)
การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบเป็นเม็ดโดยกระบวนการพริลลิ่ง มักใช้ร่วมอยู่ในกระบวนการผลิตปุ๋ย
ไนโตรฟอสเฟต โดยมีหลักการดังนี้คือ
1) นำของเหลวที่ผ่านกระบวนการทางเคมีในปฏิกรณ์มาทำให้เข้มข้น 96-98%
2) ส่งต่อไปยังส่วนบนสุดของหอพริลลิ่ง เพื่ออัดของเหลวข้นที่ผ่านรูเล็กๆ ที่ปลายท่อ (Nozzle)
ให้เป็นหยด (Droplets)
3) หยดปุ๋ยข้นร่วงลงมายังพื้นล่างในสภาพที่เป็นของแข็งและแห้ง เม็ดปุ๋ยที่ได้นี้จะได้ส่วนผสม
ของสารประกอบต่างๆ เหมือนกัน และเป็นเนื้อเดียวกัน
อย่างไรก็ตามข้อจำ กัดของขบวนการคือ ผลิตเม็ดปุ๋ยที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง
1.3 – 3.0 มม. เท่านั้น ซึ่งเล็กกว่าที่ผลิตได้จากกระบวนการอื่นๆ
การทำเม็ดแบบคอมเพ็ก (Compaction granulation)
การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบโดยปั้นเม็ดแบบคอมเพ็ก เป็นกระบวนการที่ใช้แรงเชิงกล (Mechanical
force) ให้ปุ๋ยผงอัดตัวเป็นเม็ด ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตดังนี้
1) นำแม่ปุ๋ยชนิดผงที่แห้งมาผสมกัน ให้ได้สูตรปุ๋ยที่ต้องการ สำหรับสารเติมน้ำหนักต้องมี
สมบัติเป็นสารเชื่อม เช่น แร่ดินเหนียว
2) นำของผสมนี้มาป้อนเข้าเครื่องอัดแบบลูกกลิ้ง ซึ่งปุ๋ยจะถูกอัดอยู่ระหว่างลูกกลิ้งทั้งสองด้วย
แรงที่สูงมากจนเชื่อมตัวกัน และถูกอัดออกมาเป็นแผ่นหนา 2-3 มม. กว้าง 60-100 ซม.
3) ส่งแผ่นปุ๋ยไปโม่ให้แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างไรก็ตามเครื่องโม่มีหลายแบบ บางแบบ
ประกอบด้วยลูกกลิ้งสองลูกอยู่คนละด้านคล้ายเครื่องอัด แตกต่างกันที่ผิวของลูกกลิ้งทั้งสองมีลักษณะคล้าย
เฟือง คือมีฟันที่จะขุดให้เกิดรอยลึกบนแผ่นปุ๋ย เมื่อแผ่นดังกล่าวผ่านเข้ามาระหว่างลูกกลิ้งคู่นี้ รอยที่เกิดบน
แผ่นปุ๋ยจากการขูดของลูกกลิ้ง จะช่วยให้แผ่นปุ๋ยแตกออกเป็นชิ้น หรือเม็ดตามขนาดที่กำหนดไว้ ส่วนบางแบบ
มีชิ้นส่วนที่บดปุ๋ยเป็นจานหมุน ทำหน้าที่ตัดแผ่นปุ๋ยให้แตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามขนาดที่ต้องการ
4) เม็ดปุ๋ยที่ออกมาจากเครื่องโม่จะถูกส่งไปยังตะแกรงคัดขนาด แล้วอบให้แห้งถ้าจำเป็น
สำหรับเม็ดโตก็ส่งไปบดซ้ำอีกครั้ง ส่วนเม็ดเล็กก็ลำเลียงเข้าสู่ถังผสมรวมกับวัตถุดิบใหม่เพื่อเตรียมอัดเป็นแผ่น
ต่อไป
306
การผสมปุ๋ยแบบคลุกเคล้า (Bulk blending)
ปุ๋ยเชิงผสมแบบคลุกเคล้า หรือปุ๋ยเชิงผสมไม่เป็นเนื้อเดียวกัน หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ย
ชนิดเม็ดมาผสมกัน เป็นการผสมแล้วคลุกเคล้ากันอย่างง่ายๆ ไม่มีปฏิกิริยาเคมี หรือการเปลี่ยนแปลงของขนาด
เม็ดปุ๋ยในระหว่างการผสม
ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าจะมีคุณภาพดี เมื่อผลิตจากแม่ปุ๋ยที่มีความเข้ากันได้ หรือความเข้าคู่ทาง
เคมี และด้านขนาดเม็ด โดยแม่ปุ๋ยเหล่านั้นมีคุณลักษณะ 2 ประการ คือ ปริมาณธาตุอาหารรับรองตรงตาม
ฉลาก และไม่แยกตัวภายหลังการผสม ดังนั้นจึงต้องคำนวณปุ๋ยให้ถูกต้อง จัดหาแม่ปุ๋ยที่ผลการวิเคราะห์แสดง
ว่า มีธาตุอาหารตรงกับปริมาณธาตุอาหารรับรอง และแม่ปุ๋ยที่ใช้ทุกอย่างมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเม็ด
ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ได้มีส่วนผสมสม่ำเสมอ ดังนั้น หากผู้จำหน่ายมีข้อมูลด้านขนาดเม็ดของแม่ปุ๋ยชนิด
ต่างๆ ลูกค้าก็สามารถเลือกเฉพาะที่มีขนาดเม็ดใกล้เคียงกันมาผสม
307
ตารางที่ 3 น้ำหนักแม่ปุ๋ยและสารเติมน้ำหนัก (กก.)ที่ต้องใช้เพื่อผสมปุ๋ยสูตรต่างๆ 100 กก.
สูตรปุ๋ย ไดแอมโมเนียม
ฟอสเฟต
(18-46-0)
ยูเรีย
(46-0-0)
โปแตสเซียมคลอไรด์
(0-0-60)
สารเติม
น้ำหนัก
16 – 20 – 0 44 18 0 38
20 – 20 – 0 44 27 0 29
10 – 20 – 10 44 5 17 34
10 – 20 – 20 44 5 34 17
12 – 24 – 12 52 6 20 22
12 – 9 – 21 20 19 35 26
15 –15 –15 33 20 25 22
15 – 5 – 20 11 29 34 26
15 – 5 – 15 11 29 25 35
15 – 7 – 18 16 27 30 27
16 – 16 – 8 35 22 14 29
8 – 16 – 24 35 4 40 21
18 – 12 – 6 26 30 10 34
3 – 10 –30 22 0 50 28
10 – 10 – 30 22 14 50 14
20 – 10 –10 22 35 17 26
10 – 10 –20 22 14 34 30
20 – 10 – 20 22 35 34 9
18 – 10 – 6 22 31 10 37
18 – 12 – 6 26 30 10 34
16 – 8 – 14 18 28 24 30
16 – 11 – 14 24 26 24 26
25 – 7 – 7 16 48 12 24
21 – 7–14 16 40 24 20
18 – 4 – 5 9 36 9 46
14 – 4 – 9 9 27 15 49
13 – 13 – 21 29 17 35 19
9 – 4 – 24 52 0 40 8
308
เทคโนโลยีการผสม
ขั้นตอนหลักของการผลิตปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้ามีดังนี้
1. รับและเก็บปุ๋ยเม็ดจากแหล่งผลิตแม่ปุ๋ย
2. เคลื่อนย้ายแม่ปุ๋ยจากที่เก็บมายังที่ผสม
3. ชั่งและส่งแม่ปุ๋ยที่ชั่งแล้วลงในถังผสม
4. ผสมให้เข้ากันดี
5. เคลื่อนย้ายปุ๋ยที่ผสมแล้วไปยังถังพัก ก่อนจะถ่ายลงรถหว่านปุ๋ย หรือรถบรรทุก หรือ
ส่งไปบรรจุถุง
การรับ และเก็บแม่ปุ๋ย ที่ส่งมาทางรถไฟ หรือรถบรรทุก โดยลำเลียงไปยังโรงเก็บแล้วกองบนพื้น
แยกกันตามชนิด ในช่องซึ่งมีอย่างน้อย 4 ช่อง หรือในที่เก็บซึ่งยกพื้นสูง วิธีหลังมีข้อแม้ คือ มักมีพื้นที่เก็บน้อย
เนื่องจากต้องเป็นอาคารที่แข็งแรงมาก
การเคลื่อนย้ายแม่ปุ๋ยไปสู่ถังผสม วิธีเคลื่อนย้ายปุ๋ยจากที่เก็บไปยังถังผสมของโรงงานแต่ละ
ขนาด มีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. โรงงานขนาดเล็ก ใช้รถตักแล้วเทลงในถังก้นกรวย ซึ่งอยู่สูงจากพื้นเล็กน้อย และติดตั้งอุปกรณ์
การชั่งไว้ด้วย แล้วจึงลำเลียงต่อไปยังถังผสม ความถูกต้องและรวดเร็วของการชั่งปุ๋ยขึ้นอยู่กับทักษะของผู้
ควบคุมอุปกรณ์เทปุ๋ย อย่างไรก็ตามการทานด้วยวิธีค่อนข้างช้า
ภาพที่ 3 โรงงานผลิตปุ๋ยผสม
2. โรงงานขนาดใหญ่ซึ่งมีกำลังการผลิตตั้งแต่ 5,000 ตันต่อปีขึ้นไป และโรงงานขนาดเล็กบาง
แห่งมีถังก้นกรวยเป็นชุด (Cluster hoppers) ติดตั้งอยู่เหนือถังก้นกรวยสำหรับช่างน้ำหนัก ระบบนี้ใช้รถตักปุ๋ย
จากช่องเก็บมาใส่ที่ช่องเปิดตรงฐานของท่อลำเลียงปุ๋ยขึ้นที่สูง (Elevator) แล้วปุ๋ยจะถูกนำขึ้นไปเทใส่ช่องใด
ช่องหนึ่งในที่ช่องของถังก้นกรวยชุดนั้น ต่อมาจึงถ่ายลงสู่ถังก้นกรวยสำหรับชั่งน้ำหนักการควบคุมส่วนนี้อาจใช้
309
คนดึง หรือดันลิ้นเปิดปิดก้นถัง หรือควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า เมื่อได้น้ำหนักแม่ปุ๋ยในถังตามความต้องการแล้ว ก็
ถ่ายลงไปในถังผสมตามลำดับ (Polo, 2006a)
การผสม ในการผลิตปุ๋ยผสมแบคลุกเคล้าใช้ถังผสม 2 แบบ คือ
1. ถังผสมแกนเอียง (Inclined axis rotary drum) หรือถังผสมคอนกรีต เป็นแบบที่ได้รับความ
นิยมสูงสุด
2. ถังผสมแบบแกนนอน (Horizontal axis rotary drum) ถังแบบนี้แตกต่างจากแบบแรกตรงที่ใส่
แม่ปุ๋ยทางด้านหนึ่งแล้วปุ๋ยผสมออกอีกด้านหนึ่ง และแกนของถังวางอยู่ในแนวนอน ในขณะที่แกนของถัง
ผสมคอนกรีตทำมุมเอียงกับแนวราบ
การควบคุมคุณภาพ
ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าจะมีปริมาณธาตุอาหารถูกต้องตามสูตร และสมบัติทางกายภาพดีก็
ต่อเมื่อผู้ประกอบการได้รับแม่ปุ๋ยคุณภาพสูงจากผู้ผลิต และมีการเก็บ ขนย้ายถ่ายเท และผสมปุ๋ยด้วย
วิธีการที่ถูกต้อง
การดูแลปุ๋ยหลังการผสม
การดูแลปุ๋ยหลังการผสมมี 2 เรื่อง คือ การป้องกันความชื้น และการโยกย้ายถ่ายเทด้วยความ
ระมัดระวัง
1. การป้องกันความชื้น ระดับขั้น (Degree) ของการป้องกันความชื้น ขึ้นอยู่กับความชื้นสัมพัทธ์
วิกฤตของปุ๋ยแต่ละชนิดซึ่งมีค่าแตกต่างกัน กล่าวคือ 1. ปุ๋ยที่มีค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤตต่ำจะดูดความชื้นจาก
อากาศได้แม้ขณะนั้นอากาศจะค่อนข้างแห้ง และ 2. เมื่อนำปุ๋ยมาผสมกัน ความชื้นสัมพัทธ์วิกฤตของปุ๋ยผสม
จะต่ำกว่าของแม่ปุ๋ย สำหรับปุ๋ยที่ดูดความชื้นง่ายควรดูแลดังนี้ 1. เก็บในอาคารที่ปิดมิดชิด 2. ไม่เก็บไว้นาน
และ 3. คลุมกองปุ๋ยด้วยผ้าใบหรือแผ่นพลาสติก (Lazo de la Vega, 2006c and 2006d)
โดยปกติปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าที่ผลิตในสหรัฐอเมริกานั้น มีการระบายออกจากโรงงานภายใน
ไม่กี่ชั่วโมง ดังนั้นปัญหาด้านความเข้ากันได้ทางเคมี และการดูดความชื้นของปุ๋ยจะไม่ค่อยปรากฏ ผู้ผลิตจึงไม่
จำเป็นต้องเติมสารเสริมสภาพปุ๋ย (Conditioner) ระหว่างการผสม ทั้งนี้เนื่องจากแม่ปุ๋ยไนโตรเจนและแม่ปุ๋ย
โปแตสเซียมที่ใช้ก็มักมีสารเสริมสภาพปุ๋ยอยู่ในตัวแล้ว แต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บปุ๋ยผสมไว้หลายๆ เดือนก่อน
นำไปใช้ ผู้ผลิตจำเป็นต้องเติมสารเสริมสภาพปุ๋ย และมีการป้องกันความชื้นเป็นพิเศษ สำหรับผู้ผลิตในประเทศ
อังกฤษดำเนินการดังนี้
1. เติมดินขาวประมาณ 1% ลงในถังผสมพร้อมกับ Heavy oil ประมาณ 0.3% เพื่อช่วยให้ดิน
ขาวเกาะผิวเม็ดปุ๋ยแน่นขึ้น เมื่อเป่าให้ดินขาวส่วนเกินออกไปแล้วจึงบรรจุถุงพลาสติกถุงละ 50 กก. ผนึกปากถุง
ด้วยความร้อน
2. วางถุงปุ๋ยบนกรอบไม้เรียงซ้อนกันให้ได้กรอบละ 40 ถุง หรือ 2 ตัน แล้วหุ้มด้วยพลาสติก
โดยรอบ เมื่อผ่านปุ๋ยทั้งกรอบเข้าไปในลมร้อน พลาสติกจะห่อหุ้มกลุ่มกระสอบปุ๋ยโดยเรียบร้อย ซึ่งช่วยกัน
ความชื้นเป็นอย่างดี สามารถเก็บไว้นอกโรงเรือน 6 เดือน
310
3. การโยกย้ายถ่ายเทด้วยความระมัดระวัง ดังที่กล่าวไว้เวลาในเรื่องขนาดของเม็ดปุ๋ยว่า
ผู้ประกอบการก็มีข้อจำกัดในการหาเม็ดปุ๋ยที่มีขนาดเข้ากันได้จริงๆ ดังนั้นการผสมแม่ปุ๋ยที่ขนาดของเม็ดไม่
ค่อยเข้ากันจึงเกิดขึ้นเสมอ อย่างไรก็ตามยังมีมาตรการบางอย่างที่จะช่วยลดการแยกตัวเพื่อมิให้เป็นปัญหาที่
รุนแรง ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้ คือ 1) ในช่วงเวลาที่ผสมปุ๋ยเสร็จแล้ว จนถึงก่อนลำเลียงขึ้น
ยานพาหนะ ต้องลดจำนวนครั้งของการโยกย้ายถ่ายเทให้เหลือน้อยที่สุด 2) ป้องกันการแยกตัว เนื่องจากการ
เทกอง (Coning) เป็นพิเศษ
สำหรับการแยกตัวของปุ๋ยเนื่องจากเทกองนั้น เกิดขณะขนย้ายปุ๋ยปริมาณมากระหว่างการขนส่ง
โดยมักเกิดในขั้นตอนต่อไปนี้ คือ 1) ขณะลำเลียงปุ๋ยจากถังผสมลงสู่ถังพัก ถังนี้แขวนอยู่สูงกว่ายานพาหนะที่
จะมารับปุ๋ย (Holding hopper) หรือถังพักที่ใช้สำหรับบรรจุปุ๋ยลงกระสอบ (Bagging hopper) 2) ขณะถ่ายปุ๋ย
จากถังพักลงบนพื้นของยานพาหนะ และ 3) ถ่ายปุ๋ยลงบนพื้นห้องซึ่งใช้เก็บปุ๋ยชั่วคราว
วิธีการแก้ปัญหาการแยกตัวของปุ๋ยทั้ง 3 กรณี ควรทำดังนี้
1) ถังพักสำหรับถ่ายปุ๋ยลงยานพาหนะหรือเพื่อเตรียมบรรจุลงกระสอบ ควรเพิ่มเติมโครงสร้าง
ภายในให้มีแผ่นกั้น (Baffle plate) เป็นช่องเล็กๆ ตามแนวตั้งคล้ายลงที่บรรจุขวดน้ำหวาน ปุ๋ยที่ลงสู่ถังพักจะ
เข้าไปในช่องเล็กทันที จึงลดระยะทางการเคลื่อนที่ของเม็ดปุ๋ยทางด้านข้างลงอย่างมาก การแยกตัวของเม็ดปุ๋ย
ในถังพักจะน้อยลง
2) ในการถ่ายปุ๋ยลงในถังพักลงสู่ยานพาหนะไม่ควรปล่อยจากก้นถังโดยตรง แต่ควรผ่านท่อซึ่ง
สามารถย้ายจุดปล่อยปุ๋ยได้โดยรอบ ถ้าให้ดียิ่งไปกว่านั้นควรกั้นภายในกระบะรถให้เป็นช่องๆ ก็จะช่วยลดการ
แยกตัวของปุ๋ยได้อีกทางหนึ่ง
3) หากมีความจำเป็นต้องเก็บปุ๋ยผสมไว้ในโรงเก็บชั่วคราว การลำเลียงปุ๋ยลงบนพื้นห้องควรมี
อุปกรณ์ช่วยกระจายปุ๋ยแบบจานหมุน (Spinning disc) หรือใช้แผ่นเหล็กฉากรองไว้ใต้ท่อส่งปุ๋ย ซึ่งแผ่นเหล็ก
ฉากจะแยกปุ๋ยให้ไหลออกสองด้าน แล้วคอยหมุน 90 องศาเป็นครั้งคราว เพื่อให้ปุ๋ยมีการกระจายอย่าง
สม่ำเสมอ
ความสามารถผสมกันได้
เมื่อเอาปุ๋ยเคมีมาผสมกัน ถ้าหากเกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้นจะเกิดการสูญเสียปริมาณธาตุอาหารในรูป
ของก๊าซ หรือเปลี่ยนเป็นรูปที่ละลายได้ยากหรืออาจก่อให้เกิดสารที่ดูดความชื้นได้ดี เปียกชื้นได้ง่ายกลายเป็น
ของเหลวไป และในการใส่ปุ๋ยลงไปในไร่นาจริงๆ ไม่มีความจำเป็นต้องผสมปุ๋ยก่อนใช้คือ สามารถแยกใส่ปุ๋ยที่
จะใช้ ที่ละชนิดลงไปในดินได้เลย จากภาพที่ 4 เป็นตัวอย่างของความสามารถในการผสมกันได้ของแม่ปุ๋ยบาง
ชนิด
311
แอมโมเนียมไนเตรท แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท (AN + DOLOMITE/LIMESTONE)
1 8 แคลเซียมไนเตรท (FERTILIZER GRADE)
2 10 แอมโมเนียมซัลเฟต ไนเตรท
10 2 โปแตสเซียม ไนเตรท/ โซเดียมไนเตรท
3 2 10 2 13 แอมโมเนียมซัลเฟต
4 4 10 4 ยูเรีย
12 หินฟอสเฟต
5 5 16 หินฟอสเฟต
5 9 10 9 17 ทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟตเดี่ยว, โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต
10 19 19 ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต, โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต
6 6 10 6 18 โปแตสเซียมซัลเฟต/แมกนีเซียมซัลเฟต
11 โปแตสเซียมซัลเฟต/แมกนีเซียมซัลเฟต
6 6 10 6 14 6 4 5 5 6 โปแตสเซียมคลอไรด์
4 4 10 4 15 16 16 4 NPK,NP,NK(AN BASED)
19 19 NPK,NP,NK(UREA BASED)
7 7 10 7 7 7 LIMESTONE/DOLOMITE/CALCIUM SULPHTE, SULPHUR
ผสมกันได้
ผสมกันได้บ้าง
ผสมกันไม่ได้เลย
ภาพที่ 4 การผสมกันได้ระหว่างปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ โดยปุ๋ยเคมีบางชนิดเมื่อผสมแล้วมี
ผลทำให้สมบัติทางกายภาพ
การจับตัวเป็นก้อน (Caking) ของเม็ดปุ๋ย และการแก้ไข
การจับตัวกันเป็นก้อนแข็งของปุ๋ยเคมีชนิดของแข็ง ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยผง ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยเม็ด จะเกิดขึ้นมาก
หรือน้อย และเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ปริมาณความชื้นของปุ๋ยหลังการ
ผลิต และก่อนการเก็บรักษา ขนาด และความแกร่งของเม็ดปุ๋ย ชนิด และปริมาณ และคุณสมบัติของสารปรับ
สภาพ (Conditioner) อุณหภูมิการเก็บรักษา น้ำหนักกดทับของปุ๋ยในการเก็บรักษา ระยะเวลาการตั้งกองปุ๋ย
ก่อนการบรรจุกระสอบ
ในการผสมปุ๋ยโดยทั่วไป น้ำหนักรวมของแม่ปุ๋ยมักจะไม่ครบตามเป้าหมาย จึงต้องใส่สารเติมน้ำหนัก
(Filler) ลงไป ในกรณีการผลิตปุ๋ยเชิงประกอบโดยกระบวนการปั้นเม็ดด้วยไอน้ำ/น้ำ สารเติมน้ำหนักที่ใช้ ควรทำ
หน้าที่เป็นสารปรับสภาพปุ๋ย (Conditioners) อีก 2 ประการคือ เป็นสารเชื่อมให้เนื้อปุ๋ยเกาะกัน (Binder) จึงขึ้น
รูปเม็ดง่าย และเมื่อปุ๋ยเม็ดแห้งจะเพิ่มความแข็ง นอกจากนี้ ยังช่วยลดการดูดความชื้น จึงเป็นสารป้องกันการ
จับตัวของเม็ดปุ๋ยเป็นก้อน (Anticaking agent)
กระบวนการจับตัวกันเป็นก้อน
โดยปรกติปุ๋ยชนิดแข็งไม่ว่าจะมีรูปทรงแบบใดก็ตาม หากชิ้นข้างเคียงหลายๆ ชิ้นมีจุดที่เชื่อมติดกันก็
จะกลายเป็นก้อน จุดเชื่อมดังกล่าวของปุ๋ยอาจมีธรรมชาติที่แตกต่างกันไป ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
312
1) สะพานเกลือ (Salt bridge) หมายถึงการเชื่อมประสานระหว่างผลึกเกลือในเม็ดปุ๋ยที่อยู่ข้างเคียง
ซึ่งนับเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการจับตัวเป็นก้อน และเป็นปัญหาที่ร้ายแรงกว่าที่เกิดโดยกลไกแบบอื่นๆ
การเชื่อมประสานระหว่างผลึกเกลือของปุ๋ยที่อยู่ค้างเคียง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการเก็บปุ๋ย เนื่องจาก
ก) องค์ประกอบของปุ๋ยยังทำปฏิกิริยากันขณะที่อยู่ในโรงเก็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิกิริยาที่เกิดระหว่างอนุภาค
ข้างเคียงซึ่งเบียดชิดกัน ข) ในบางขณะความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูง เป็นเหตุให้อนุภาคปุ๋ยดูดความชื้นได้
มากขึ้น ซึ่งมากพอที่จะละลายเนื้อปุ๋ยส่วนที่เบียดชิดกัน ต่อมาเมื่ออากาศแห้งลงความชื้นในปุ๋ยก็ลดลงด้วย
เป็นเหตุให้เกลือในสารละลายดังกล่าวตกผลึก เนื้อปุ๋ยของอนุภาคข้างเคียงที่เบียดชิดกันจึงกลายเป็นเนื้อเดียว
และเชื่อมกันสนิท ค) การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิก็มีผลกระทบต่อความชื้นสัมพัทธ์วิกฤต (Critical relativehumidity)
ของปุ๋ย โดยปกติค่านี้มักกำหนดมาตรฐานการวัดที่ 30 องศาเซลเซียส แต่ค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤต
สูงเมื่ออุณหภูมิของอากาศต่ำ แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นค่าดังกล่าวกลับลดลง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ปุ๋ยจะดูด
ความชื้นง่ายขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
2) การประชิดยึดติด (Adhesive contacts) หมายถึงการยึดติดของโมเลกุลในอนุภาคข้างเคียง เมื่อ
อนุภาคปุ๋ยเหล่านั้นเบียดชิดกัน การยึดเกาะกันระหว่างโมเลกุลของสารดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยแรง Vander Waals
จึงไม่เหนียวแน่นนัก การประชิดยึดติดเกิดขึ้นเนื่องจาก ก) อนุภาคปุ๋ยมีสภาพพลาสติก (Plasticity) และ ข) มี
แรงกดอันเกิดจากการทับกันเองของอนุภาคปุ๋ยในกระสอบ ตลอดจนแรงกดของกระสอบบนต่อกระสอบล่างใน
กองกระสอบปุ๋ย หรือแรงกดทับต่ออนุภาคส่วนล่างๆ ของกองปุ๋ยจึงเป็นปรากฏการชั่วคราวภายใต้สภาพของปุ๋ย
ที่อยู่ในกองเท่านั้น เมื่อขยับกระสอบหรือรื้อกองปุ๋ยออกอนุภาค หรือเม็ดปุ๋ยก็กลับมีลักษณะลื่นไหลได้ดี
ตามปกติ
3) การประชิดเชื่อมของเหลว (Liquid contacts) เกิดขึ้นเมื่อปุ๋ยชื้นแล้วมีฟิล์มบางๆ ของสารละลายซึ่ง
อิ่มตัวที่ผิวเม็ดปุ๋ย และเป็นเหตุให้อนุภาคปุ๋ยข้างเคียงเชื่อมติดกันกลายเป็นก้อน อย่างไรก็ตามเชื่อมระหว่างเม็ด
ปุ๋ยในก้อนค่อนข้างเปราะ เมื่อเคาะเบาๆ ก็แตกหรือหลุดร่วงออก แต่ผู้ผลิตก็ต้องพยายามป้องกันมิให้เกิดขึ้น
เม็ดปุ๋ย
จุดสัมผัส ดูดน้ำ
สารละลายอิ่มตัว
สูญเสียน้ำ
สะพานเกลือ(ผลึก) หรือ
salt bridge
(1) (2) (3)
ภาพที่ 5 ขั้นตอนแสดงกลไกการจับตัวกันเป็นก้อนของเม็ดปุ๋ยอันเนื่องมาจาก (1) จุดสัมผัสที่เกิดจาก
การสัมผัสระหว่างเม็ดปุ๋ย (2) การดูดน้ำ และการเกิดสภาพสารละลายอิ่มตัวตรงจุดสัมผัสระหว่างเม็ด
ปุ๋ย และ (3) การสูญเสียน้ำ และการตกผลึกของเกลือสารละลายตรงจุดสัมผัสระหว่างเม็ดปุ๋ย (การ
เกิดสะพานเกลือหรือ Salt bridge)
ที่มา: ปิยะ (2541)
313
การใช้สารปรับสภาพปุ๋ย (Conditioners) เพื่อป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของปุ๋ยนั้น สารแต่ละ
ชนิดมีบทบาทที่แตกต่างกันไป ดังนี้
- - ป้องกันมิให้สารละลายอิ่มตัวซึ่งเยิ้มอยู่บนผิวเม็ดปุ๋ยข้างเคียงได้มาสัมผัสกัน
- ช่วยให้เกลือที่กำลังตกผลึก และเชื่อมผลึกระหว่างเม็ดปุ๋ยข้างเคียงนั้น ได้กระจายตัวไป
บนผิวของเม็ดปุ๋ยเดิม จึงไม่เกิดการเชื่อมต่อของผลึกระหว่างเม็ดปุ๋ย
- ระหว่างที่เกิดสารละลายอิ่มตัวบนผิวเม็ดปุ๋ย และต่อมาเมื่อน้ำระเหยออกไปบ้างนั้น
เกลือจะเริ่มตกผลึก สารนี้จะช่วยให้โมเลกุลของเกลือจับกันเป็นกลุ่มเล็ก และได้ผลึกที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม
- มีบทบาทในขั้นตอนเดียวกันกับข้อสาม แต่ช่วยเปลี่ยนแปลงลักษณะของผลึกให้
ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
- ชะงักขั้นตอนของการละลาย และตกผลึกของเกลือที่ผิวเม็ดปุ๋ย
- เคลือบผิวเม็ดปุ๋ยแล้วทำหน้าที่เป็นสิ่งกีดขวางแทรกซึมของความชื้นจากอากาศสู่เม็ด
ปุ๋ย
- ช่วยให้ผิวเม็ดปุ๋ยแห้ง
- ลดความแข็งแกร่งของผลึกที่เชื่อมอยู่ระหว่างอนุภาคปุ๋ยข้างเคียง
ในการเลือกสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของปุ๋ยเพื่อใช้ให้ได้ผลดีนั้น ต้องทราบก่อนว่ากลไก
การจับตัวของปุ๋ยเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วจึงเลือกสารที่ช่วยแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุของปัญหาในหลายกรณีการใช้
สารที่มีบทบาทหลายๆ ด้าน จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าสารที่มีบทบาทเพียงอย่างเดียว
โดยการพ่นผงฝุ่นของสารปรับสภาพลงจับเกาะบนผิวของปุ๋ยเม็ดปริมาณที่ใช้อยู่ประมาณ 1-4%
โดยน้ำหนัก การเคลือบเม็ดปุ๋ยสามารถเคลือบด้วยสารชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเหลว ของแข็ง เช่น
พลาสติกที่ทนความร้อน (Thermoplastic) หรือสารอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ของการเคลือบหลายประการ ได้แก่
ไม่ให้ฝุ่นกระจายจากเม็ดปุ๋ย ป้องการการจับกันเป็นก้อนแข็ง และการดูดความชื้น ทำให้พื้นผิวภายนอกเม็ด
ปุ๋ยคงสภาพอยู่ ช่วยส่งเสริมการผสมปุ๋ยด้วยแม่ปุ๋ยชนิด ทำได้ง่ายขึ้น ปรับปรุง/ปรับเปลี่ยนลักษณะการ
ปลดปล่อยธาตุอาหารจากเม็ดปุ๋ยจากเดิมที่เป็นอยู่ และความสามารถในการไหลได้ (Flow ability)
ตัวอย่างการเคลือบเม็ดปุ๋ยด้วยสารเคมีต่างๆ
ภาพที่ 6 การเคลือบสารปรับสภาพปุ๋ย (Galoryl)เพื่อป้องกันการจับตัวกันเป็นก้อน
ของปุ๋ยแอมโนเนียมไนเตรท
ไม่มีการเคลือบ 700 ppm Galoryl 1200 ppm Galoryl
314
สำหรับวัสดุปรับสภาพปุ๋ยที่ใส่ในถังผสมก่อนปั้นเม็ด ทำหน้าที่เป็นสารเชื่อมให้เนื้อปุ๋ยเกาะกัน
อีกส่วนหนึ่งใช้เคลือบผิวเม็ดปุ๋ยเพื่อป้องกันการดูดความชื้น ปุ๋ยจึงมีสมบัติทางกายภาพดีตลอดช่วงเวลาที่เก็บ
หรือขนถ่ายโยกย้าย มีสภาพลื่นไหล (Flow ability) เมื่อตักหรือเทออก ตัวอย่างของวัสดุปรับสภาพปุ๋ยแสดงไว้
ในตารางที่ 5
ตารางที่ 5 วัสดุปรับสภาพปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเชิงประกอบ
ประเภท ชื่อ
ผงเฉื่อย (Inert powder) ผงทัลก์ (Talc)
แมกนีเซียม อะลูมิเนียมซิลิเกต
ผงไดอะตอม (Diatomaceous earth)
ผงเวอมิคิวไลต์ (Vermiculite)
ผงทราย (Silica)
ดินเหนียวแอตตาปลอไจต์ (Attapulgite clay)
สารเคลือบผิว (Surfactances) Fatty amine
Alkyl naphthalene sulfonate
ที่มา : Anonymous (2005)
ปุ๋ยเคมีที่ผลิตจากโรงงานในขั้นตอนสุดท้ายอาจมีการบรรจุกระสอบโดยทันทีหรือไม่ก็เก็บรักษาไว้
ในรูปปุ๋ยเทกอง จนถึงระยะเวลาที่เกษตรกรจะนำไปใส่ให้กับพืชอาจยาวนานมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ
ปัจจัยหลายอย่าง เช่น ช่วงเวลาการปลูกพืช พื้นที่เพาะปลูก ปริมาณปุ๋ยที่ต้องการใช้ เป็นต้น
ภาพที่ 7 การจับตัวกันเป็นก้อนของ
ตารางที่ 5 และภาพที่ 7 แสดงให้เห็นว่าปุ๋ยในกลุ่มไนเตรทดูดความชื้นได้ง่าย
(Hygroscopic point ต่ำ) และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นปุ๋ยจะดูดความชื้นเข้ามาได้ง่ายขึ้น คือจะดูดความชื้นจาก
อากาศที่มีระดับความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำลงเรื่อยๆ หรือมี Hygroscopic point ต่ำลงนั่นเอง เมื่อนำปุ๋ยสองชนิดมา
ผสมกัน Hygroscopic point ของปุ๋ยจะต่ำลง คือดูดความชื้นได้ง่ายขึ้น (เมื่ออุณหภูมิคงที่) มีหลักใหญ่ๆ พวก
315
โปแตสเซียมผสมกับปุ๋ยฟอสเฟต ค่า Hygroscopic point จะลดลงเล็กน้อย แต่ Calcium nitrate เมื่อผสมกับ
ปุ๋ยอื่นจะชื้นได้ง่ายขึ้น โดยยูเรียผสมกับแอมโมเนียมไนเตรทไม่ได้ ปุ๋ยจะชื้นง่ายและจับตัวกันเป็นก้อนแข็งยาก
ต่อการนำเอาไปใช้ เนื่องมาจากความชื้นที่ปุ๋ยดูดมาจากอากาศจะเข้ามาละลายปุ๋ยบางส่วนให้เปียกเคลือบที่
เม็ดปุ๋ย เมื่อแห้งลงบางส่วนจะตกผลึกออกมาเป็นตัวเชื่อมอนุภาคเม็ดปุ๋ยไว้ให้ติดกันเป็นก้อนแข็ง
ตารางที่ 6 แสดงค่า Hygroscopic point (Relative humidity ของอากาศ) ของปุ๋ยชนิดต่างๆ ที่อุณหภูมิ
3 ระดับ
จุดวิกฤตของความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่ปุ๋ยจะชื้น
ชื่อปุ๋ย
20 O C 30 O C 40O C
Calcium nitrate 54.4 46.7 35.5
Ammonium nitrate 66.9 59.4 52.5
Urea 80.0 72.5 68.0
Ammonium chloride 79.3 77.2 73.7
Ammonium sulfate 81.1 79.2 78.2
Potassium chloride 85.7 84.0 81.2
Potassium nitrate 92.7 90.5 87.9
Potassium sulfate 98.5 96.3 95.7
Mono - ammonium phosphate 91.7 91.6 90.3
Mono - potassium phosphate 96.2 92.9 92.9
Mono - calcium phosphate 94.1 94.7 94.5
ที่มา : สรสิทธิ์ (2525)
316
46.7 แคลเซียมไนเตรท
23.5 59.4 แอมโมเนียมไนเตรท
37.7 46.3 72.4 โซเดียมไนเตรท
- 18.1 45.6 75.2 ยูเรีย
- 51.4 51.9 57.9 77.2 แอมโมเนียม คลอไรด์
- 62.3 - 56.4 71.3 79.2 แอมโมเนียมซัลเฟต
- 59* - 62* - 72* 82.5 ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต
22.0 67.9 66.9 60.3 73.5 71.3 70* 84.0 โปแตสเซียมคลอไรด์
31.4 59.9 64.5 65.2 67.9 69.2 - 78.6 90.5 โปแตสเซียมไนเตรท
52.8 58.0 63.8 65.2 - 75.8 78* 72.8 59.8 91.6 โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต
46.2 52.8 68.1 65.1 73.9 87.7 78* - 87.8 88.8 93.6 โมโนแคลเซียม
ฟอสเฟต
76.1 69.2 73.3 71.5 71.3 81.4 77* - 87.8 79.0 - 96.
3
โปแตสเซียม
ซัลเฟต
ภาพที่ 8 ค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤติ(Critical humidity หรือHygroscopic point) (Critical humidity หรือ
Hygroscopic point) ของปุ๋ยและปุ๋ยผสมชนิดต่าง ๆ ที่อุณหภูมิ 30 ºC และ * หมายถึง การที่ได้จาก
การประมาณโดย TVA
ที่มา : TVA (2550)
ดังนั้นในการผสมปุ๋ยแบบคลุกเคล้าจำเป็นต้องคำนึงถึงค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤติของปุ๋ยผสมที่
ต้องการผสมด้วย เพราะปุ๋ยผสมที่ได้จะมีค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤตต่ำกว่าแม่ปุ๋ยที่นำมาใช้ผสม
ปัจจัยที่มีผลต่อการจับตัวกันเป็นก้อนของปุ๋ย
- ความชื้นของปุ๋ย
ปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในปุ๋ยหลังการผลิต เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมากต่อการเกิดการจับตัวกัน
เป็นก้อนแข็งของปุ๋ย ในขั้นตอนการผลิตจะมีขั้นตอนที่ทำให้ปุ๋ยแห้งหรือมีความชื้นน้อยลง เช่น อาจจะมีการอบ
ด้วยเครื่องอบ ถ้าปุ๋ยแห้งเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้ปุ๋ยมีการจับตัวเป็นก้อนแข็งยากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณ
รวมในการอบปุ๋ยจะผันแปรไปตามสมบัติทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมี เช่น ปุ๋ยที่ไนโตรเจนสูงจะต้อง
ใช้ความร้อนรวมในการอบสูงด้วย
- ความดันจากแรงกดดันทับในระหว่างการเก็บรักษา (Storage pressure)
การเก็บรักษาปุ๋ยเคมีแบบเทกองหรือปุ๋ยบรรจุกระสอบ ถ้าเก็บรักษาไว้นานเกินไปก่อนทำการขนย้าย
ไปใช้ประโยชน์ อาจเกิดการจับตัวกันเป็นก้อน กระสอบถ้ามีการวางซ้อนทับกันมากเกินไป การตั้งกระสอบปุ๋ยที่
ขนาดบรรจุ 50 kg ซ้อนกันไม่ควรตั้งสูงเกิน 20 ชั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับชนิดปุ๋ยเคมีที่มีแนวโน้มที่จะจับตัวกัน
เป็นก้อนน้อยการวางซ้อนกันอาจวางได้สูงถึง 30-40 ชั้น โดยไม่มีปัญหาการจับกันเป็นก้อนมากนัก
317
จากการเปรียบเทียบการจับเป็นก้อนเนื่องจากแรงกดดันระหว่างปุ๋ยเคมีในรูปปุ๋ยปั้นเม็ด (Granulated
mixture) กับปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า (Bulk blending fertilizer) โดยไม่มีการใช้สารปรับสภาพ (Conditioner)
ปรากฏว่าปุ๋ยเคมีชนิดปั้นเม็ดมีแนวโน้มที่จะจับตัวกันเป็นก้อนสูง ในขณะที่ปุ๋ยแบบผสมแบบคลุกเคล้าส่วน
ใหญ่ไม่จับตัวกันเป็นก้อน ทั้งนี้เพราะ
1. ปุ๋ยเม็ดที่ผลิตเพื่อใช้เป็นแม่ปุ๋ยในการผลิตปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าโดยทั่วไปมีความชื้นต่ำ
2. ส่วนผสมของปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้ามีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างเม็ดปุ๋ยต่ำ จึงทำให้มีความสัมพัทธ์
วิกฤติสูงกว่าปุ๋ยชนิดเดียวกันในรูปปั้นเม็ด
3. เม็ดปุ๋ยเม็ดที่ใช้เป็นแม่ปุ๋ยในการผลิตปุ๋ยผสมชนิดคลุกเคล้า โดยทั่วไปมีความแกร่งสูง และไม่
มีรูพรุน
- อุณหภูมิในการเก็บรักษา
อุณหภูมิบางช่วงร้อน บางช่วงเย็น มีส่วนทำให้เกิดความแปรปรวนในโรงเก็บ เหนี่ยวนำให้เกิดปุ๋ยเคมี
เกิดการจับตัวกันเป็นก้อน ทั้งนี้ เพราะในช่วงเวลาที่อากาศมีอุณหภูมิสูง ทำให้เกิดการละลายตัวของเกลือตรง
จุดสัมผัสระหว่างเม็ดปุ๋ย และต่อมาเมื่ออุณหภูมิของอากาศต่ำลง เกลือในรูปสารละลายอิ่มตัวก็จะเกิดการตก
ผลึก และผนึกเม็ดปุ๋ยเข้าด้วยกันโดยสะพานเกลือ
- การใช้สารปรับสภาพ (Conditioner)
การจับตัวกันเป็นก้อนแข็งของปุ๋ยเคมีอาจป้องกันหรือควบคุมทำให้เกิดน้อยลงได้ โดยการใช้สารปรับ
สภาพผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหรือเคลือบเม็ดปุ๋ย เช่น ถ้าเป็นปุ๋ยผง (Powder) ที่นิยมใช้กันก่อนมีการพัฒนาผลิต
ปุ๋ยเม็ด (Granular) สารที่นิยมใช้โดยวิธีผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยโดยตรง ได้แก่ Vermiculite, Perlite ขี้เลื่อย
ซังข้าวโพด ต้นยาสูบ แกลบ Peat เป็นต้น เพื่อให้เม็ดผงของสารเหล่านี้แทรกตัวอยู่ระหว่างเม็ดปุ๋ย ทำหน้าที่เป็น
ตัวขวางกั้นไม่ให้เม็ดปุ๋ยสัมผัสกันโดยตรงให้มากที่สุด ซึ่งจะลดพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างเม็ดปุ๋ย และทำให้เม็ดปุ๋ย
จับตัวกันน้อยลง
สำหรับปุ๋ยเม็ดที่นิยมกันจะเคลือบผิวเม็ดปุ๋ยด้วยสารเคลือบผิวด้วยสารปรับสภาพ วิธีการเคลือบสาร
ปรับสภาพอาจเป็นของแข็งในรูปฝุ่นผงหรือของเหลวที่พ่นลงจับหรือเคลือบผิวเม็ดปุ๋ย เช่น ดินเบา
(Diatomaceous earth) ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากซากไดอะตอม
ปุ๋ยหรือการผสมปุ๋ยแบบคลุกเคล้าจะใช้เม็ดปุ๋ยควรใหญ่ขึ้นหรือมีขนาดเดียวกันทั้งหมด ในการผลิต
ปุ๋ยควรอบให้แห้ง และทำให้เย็นลงโดยควบคุมให้อุณหภูมิของเม็ดปุ๋ยก่อนการบรรจุ ความชื้นของเม็ดปุ๋ยไม่ควร
เกินร้อยละ 1 ในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมีในสถานที่ที่สามารถควบคุมระดับอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ของ
อากาศให้คงที่มากที่สุ และบรรจุในถุงที่ทำด้วยวัสดุกันน้ำ เช่น Polyethylene แล้วเย็บผนึกปากถุงให้ปิดสนิท
การเติมปุ๋ยจุลธาตุ
การผสมปุ๋ยจุลธาตุลงในปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าเป็นบริการอีกส่วนหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร
แต่มีข้อแม้ว่าปุ๋ยนั้นต้องผสมกันอย่างดี และไม่มีการแยกตัว วิธีการผสมที่นิยมใช้กันทั่วๆ ไปก็คือ 1) จัดหาปุ๋ย
จุลธาตุชนิดเม็ดที่มีขนาดเข้ากันได้กับแม่ปุ๋ยชนิดอื่นๆ 2) ใส่ปุ๋ยจุลธาตุชนิดเม็ดลงในถังผสมก่อนแม่ปุ๋ยอื่นๆ 3)
เดินเครื่องผสมตามปกติ เทผสมเสร็จแล้วปุ๋ยจะมีความสม่ำเสมอและคงสภาพเช่นนั้นต่อไป
318
อย่างไรก็ตามปุ๋ยที่ผสมตามวิธีข้างต้นมีข้อด้อย 2 ประการ คือ 1) ปุ๋ยจุลธาตุชนิดเม็ดซึ่งมีธาตุเดียว
หรือหลายธาตุนั้นค่อนข้างหายาก และ 2) เนื่องจากต้องผสมปุ๋ยจุลธาตุลงไปในอัตราต่ำ ดังนั้นสัดส่วนระหว่าง
จำนวนเม็ดของปุ๋ยจุลธาตุในปุ๋ยผสมจะกว้างมาก เมื่อหว่านปุ๋ยลงไปในดิน การกระจายของปุ๋ยจุลธาตุจึงไม่
ค่อยดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหว่านทั่วแปลง เม็ดปุ๋ยจุลธาตุแต่ละเม็ดจะอยู่ห่างกันค่อนข้างมาก
ส่วนวิธีผสมที่จะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องข้างต้น ได้แก่ การผสมปุ๋ยจุลธาตุชนิดผงละเอียดพร้อมกับสาร
เชื่อมชนิดเหลวประมาณ 0.5-3.0% ซึ่งปุ๋ยจุลธาตุจะเคลือบติดผิวเม็ดแม่ปุ๋ยอย่างเหนียวแน่น สารเชื่อมที่ใช้
ได้แก่น้ำมัน โดยมีขั้นตอนการผสมดังนี้ คือ 1) ใส่ปุ๋ยเม็ดพร้อมจุลธาตุชนิดผงลงไปในถังผสมคลุกเคล้ากันเป็น
เวลานาน 1 นาที 2) เติมสารเชื่อมและคลุกเคล้าต่อไปอีก 1 นาที และ 3) ถ่ายปุ๋ยเม็ดที่เคลือบแล้วผสมออกจาก
ถังผสม สำหรับถังผสมที่ใช้เพื่อการนี้ได้จากการนำถังผสมแบบแกนนอน มาดัดแปลงติดตั้งถังบรรจุของเหลวที่
เป็นสารเชื่อม ตลอดจนท่อนำของเหลวไปสู่ถังผสม
ข้อด้อยของวิธีการผสมแบบนี้มี 3 ประการ คือ 1) หาปุ๋ยจุลธาตุชนิดผงละเอียดได้ค่อนข้างยาก 2)
ต้องใช้สารเชื่อมแบบเหลว จึงต้องมีอุปกรณ์ควบคุมปริมาณ และฉีดพ่นของเหลวในถังผสม และ 3) เมื่อมีการ
เติมของเหลวลงในปุ๋ยผสม อาจมีปัญหาปุ๋ยจับตัวเป็นก้อนตามมาภายหลัง
ความแตกต่างของปุ๋ยเชิงประกอบสูตรเดียวกัน
ในการตัดสินใจในการซื้อปุ๋ยเชิงประกอบสูตรหนึ่ง บางคนมีหลักเกณฑ์ว่าจะต้องเลือกตราที่มีราคาต่อ
หน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารต่ำที่สุด เนื่องจากคิดว่าปุ๋ยสูตรเดียวกันย่อมมีสมบัติด้านต่างๆ เหมือนกันทุก
ประการ เมื่อนำไปให้ก็น่าจะให้ผลเหมือนกันแต่มีต้นทุนถูกกว่า อันที่จริงปุ๋ยเชิงประกอบสูตรเดียวกัน คือ ปุ๋ยที่มี
ปริมาณธาตุอาหารรับรอง ได้แก่ ไนโตรเจนทั้งหมด(N) ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และโปแตส ที่ละลายน้ำ
(K2O) ไม่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในฉลากเท่านั้น ปุ๋ยเชิงประกอบสูตรเดียวกันของผู้ผลิตแต่ละราย จึงมีความแตกต่างใน
ด้านกระบวนการผลิต สมบัติทางกายภาพ และเคมี รูปของธาตุหลัก การมีธาตุรองและจุลธาตุเป็นองค์ประกอบ
ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยระดับหนึ่ง แต่ผลการใช้อาจไม่แตกต่างกัน หรืออาจทำให้เกิดผล
แตกต่างกันเล็กน้อย ปานกลาง หรือมากก็ได้
1) กระบวนการผลิต เนื่องจากการผลิตปุ๋ยเชิงประกอบมีหลายกระบวนการ เช่น กระบวนการผลิตและ
ปั้นเม็ดด้วยไอน้ำ/น้ำ การปั้นเม็ดเชิงเคมี การเกิดหยด หรือพริลลิง และแบบคอมเพ็ก นอกจากยังมีการผสมปุ๋ย
แบบคลุกเคล้า ปุ๋ยที่ได้แม้จะเป็นสูตรเดียวกันก็มีความแตกต่างกันหลายด้าน
2) สมบัติทางฟิสิกส์ และเคมี ปุ๋ยเคมีสูตรเดียวกันอาจมีสมบัติทางฟิสิกส์แตกต่างกันในด้านความชื้น
สัมพัทธ์ทางวิกฤต สภาพละลายน้ำได้ ความหนาแน่นรวม การกระจายของขนาดเม็ดปุ๋ย และความแข็งของเม็ด
ปุ๋ย นอกจากนี้ยังมีดัชนีเกลือ สภาพกรดสมมูล หรือสภาพเบสสมมูลแตกต่างกัน
3) รูปของธาตุหลัก แม้ว่าปริมาณธาตุอาหารรับรองจะถูกต้องตรงกัน แต่รูปของไนโตรเจนและ
ฟอสฟอรัสของปุ๋ยสูตรเดียวกันอาจแตกต่างกันดังนี้ คือ มีไนโตรเจนในรูป NH4
- N, NO3
-N หรือยูเรีย –N หรือ
หลายรูปรวมกันในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ส่วนฟอสฟอรัสอาจเป็น ก) H2PO4
- จากโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต
หรือทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต หรือ ข) HPO4
2- จากไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ซึ่งเป็นเกลือที่ละลายน้ำง่าย หรือ
319
ค) สองรูปจาก ก) และ ข) รวมกันในสัดส่วนที่แตกต่างกัน หรือ ง) มี HPO4
2- จากไดแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งเป็น
สารประกอบที่ละลายได้ในสารละลายแอมโมเนียมซิเตรท
4) การมีธาตุรอง และจุลธาตุเป็นองค์ประกอบ ปุ๋ยเชิงประกอบสูตรเดียวกันอาจแตกต่างกันในแง่การมี
ธาตุรอง เนื่องจากผู้ผลิตใช้แม่ปุ๋ยต่างกัน และแม่ปุ๋ยบางชนิดมีธาตุรองเป็นองค์ประกอบ เช่น ทริปเปิล-ซุปเปอร์
ฟอสเฟตมีแคลเซียม แอมโมเนียมซัลเฟต และโปแตสเซียมซัลเฟตมีกำมะถัน แลงไบต์มีแมกนีเซียมและ
กำมะถัน ส่วนความแตกต่างในแง่จุลธาตุอาจเกิดจากการใช้แม่ปุ๋ยที่มีจุลธาตุเจือปนในปริมาณที่ต่างกัน หรือ
ผู้ผลิตบางรายจงในใส่ปุ๋ยจุลธาตุลงไปในการผลิต เพื่อให้ปุ๋ยเชิงประกอบมีจุลธาตุบางธาตุเป็นพิเศษ โดยระบุ
หรือมิได้ระบุปริมาณธาตุรอง และ/หรือจุลธาตุไว้ในฉลาก นอกจากนี้ปุ๋ยสูตรเดียวกันของผู้ผลิตรายหนึ่งเป็นปุ๋ย
มีคลอไรด์ แต่ของอีกรายหนึ่งเป็นปุ๋ยปลอดคลอไรด์
320

ที่มา www.ap.mju.ac.th.

Tags : แม่ปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยยางพารา ราคาปุ๋ยเคมีวันนี้ ยูเรีย พลอยเกษตร เอกสุพรรณ ລາຄາຝຸ່ນ. ຝຸ່ນ วันนี้ ทอร์ช นางฟ้าทรงฉัตร กระต่าย ม้าบิน หัววัวคันไถ มงกุฎ เรือใบ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว นา 

view