การใส่ปุ๋ยมะนาว
พันธุ์ พันธุ์มะนาวที่เป็นที่ยอมรับและนิยมปลูกในประเทศไทยคือ พันธุ์เป็นรำไพ แป้น แป้นทราย มะนาวพื้นเมือง และอีมัน เป็นต้น
การเตรียมดิน ควรพิจารณาพื้นที่ที่จะปลูกมะนาว เช่นพื้นที่แบบที่ดอน เตรียมดินโดยไถดะ ไถแปร ตากดิน 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 รองก้นหลุม อัตรา 50 กรัมต่อหลุม ใช้ระยะปลูกคือระหว่างต้น 6 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร 1 ไร่สามารถปลูกได้ 45 ต้น โดยคุดหลุมให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึกประมาณ 80-100 เซนติเมตรพื้นที่แบบหลุม และเป็นดินเหนียว พื้นที่มักเป็นพื้นที่น้ำท่วมถึงในฤดูฝน ส่วนใหญ่เป็นที่นามาก่อน โดยคุดทำคันดินรอบสวนป้องกันน้ำท่วม ขุดร่องแบบยกร่องโดยมีสันร่องน้ำกว้าง 6 เมตร โดยมีขนาดร่องกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ใช้ระยะปลูก ระหว่างต้น 6 เมตร โดยบนสันร่องทำการขุด หรือไถดินตาก 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 รองก้นหลุม อัตรา 50 กรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับดินให้เข้ากัน ย่อยดิน หรือพรวนดินบนสันร่อง และปรับหน้าดินให้เรียบ
การปลูก นำต้นกล้า หรือกิ่งพันธุ์มะนาวที่เตรียมไว้ในถังชำแกะถุงดำออดจากกิ่งพันธุ์ลงปลูกกลางหลุม จัดรากให้แผ่ออกไปรอบๆ ไม่พับหัก ค่อยๆ กลบดิน โดยพูนดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำแช่ หรือท่วมขังในปากหลุม ปักไม้ยึดลำต้นใช้ฟางข้าวคลุม รดน้ำให้ชุ่ม
การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักปีละ 1 ครั้ง อย่าให้ชิดโคนต้น อัตรา 1-4 ปี๊บ และพิจารณาการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-12 หรือ 15-15-15 อัตรา 200 กรัมต่อหลุม ช่วงมะนาวอายุ 4 เดือนขึ้นไป และเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป ควรเพิ่มอัตราเป็น 300-500 กรัมต่อหลุม และ 3 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็นอัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
การให้น้ำ ควรให้น้ำทุกวัน ยกเว้นวันที่ฝนตกและดินเปียกมากควรพิจารณาการให้ อย่าให้เปียกแฉะเกินไป การให้น้ำทำได้หลายวิธี เช่น แบบน้ำหยด แบบสปริงเกอร์ แบบลากสายยางรดเป็นต้น
การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่งกิ่งให้เป็นระเบียบเป็นทรงพุ่ม และให้แสงแดดเข้าถึง โดยรักษาความสมดุลของทรงพุ่ม ในปีแรก ตัดแต่งให้ชายทรงพุ่มสูงจากพื้นดิน 30 เซนติเมตร ปีที่ 2 อยู่ที่ 50 เซนติเมตร และปีที่ 3 อยู่ที่ 80-100 เซนติเมตร
โรคที่สำคัญ คือ
-โรคแคงเกอร์ ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา คือ คอปเปอร์ อ๊อกซีคอลไรด์ คอปเปอร์ไฮครอกไซด์แคงเกอร์เอ๊กซ เป็นต้น
-โรคกรีนนิ่ง ป้องกันกำจัดโดยการหลีกเลี่ยงกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรคควบคุมแมลงที่เป็นพาหะเผาทำลายต้นที่เป็นโรค
-โรคทริสเตซ่า ป้องกันกำจัดโดยการปฏิบัติเหมือนโรคกรีนนิง
-โรครากเน่าและโคนเน่า ป้องกันกำจัดโดยการพ่น เมทาแลคซิล คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ อาลีเอท เป็นต้น
-โรคราดำ โรคยางไหล โรคใบแก้ว
แมลง แมลงศัตรูที่สำคัญ เช่น หนอนชอนใบ หนอนกินใบ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไก่แจ้ ป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นสารเคมีมาลาไธออน คาร์โบซัลแฟน อะบาแม็คติน อิมิดาโดลพริน เซฟวิน หรือกลุ่มไพทรอด์ย ตัวใดตัวหนึ่งตามของแมลงศัตรู