www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยถั่วลิสง

  • ถั่วลิสง

       ถั่วลิสงอยู่ในกลุ่มพืชผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ เพราะถั่วลิสงเป็นอาหารที่บริโภคง่าย เป็นส่วนประกอบอาหารหวานคาวต่างๆ และเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป บางส่วนนำไปสกัดน้ำมัน และกากใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

       ปัญหาของพืช ข้อจำกัด และโอกาส

  • คุณภาพของถั่วลิสงไทยค่อนข้างต่ำ มีการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน การ

ซื้อขายยังเป็นระดับเกรดคละจึงขาดแรงจูงใจในการผลิตให้มีคุณภาพดี

  • มีต้นทุนการผลผลิตสูง

  • พื้นที่ปลูกและปริมาณการผลิตไม่แน่นอน

  • มีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในราคาที่ต่ำกว่า

  • ถั่วลิสงที่ผลิตในประเทศมีขนาดเมล็ดปานกลาง

  • การกระจายพันธุ์ดียังไม่ทั่วถึง

  • ควรได้รับการปรับปรุงในเรื่องการควบคุมการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอก

ซินและมีระบบมาตรฐานรับรองผลผลิต เพื่อให้ได้ถั่วลิสงที่มีคุณภาพดีและปลดภัยต่อผู้บริโภค

  • กำหนดเขตการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพ

        

 

       พันธุ์

       การเลือกพันธุ์ ผลผลิตมีคุณภาพ และตรงตามกับที่ตลาดต้องการ เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ

       พันุ์ที่นิยมปลูก พันธุ์สำหรับใช้ในฝักรูปฝักสด เป็นถั่วตัมมี 3 พันธุ์

       กาฬสินธุ์ 1

      ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ

       วันที่รับรอง : 09 มีนาคม 2544

       ลักษณะเด่น :

       1. เปลือกฝักค่อนข้างเรียบทำให้ล้างฝักสดให้สะอาดได้ง่าย

       2. อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์ สข.38 และขอนแก่น 60-2 ประมาณ 5-10 วัน

       3. มีเยื่อหุ้มเลม็ดสีแดง ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดถั่วลิสงฝักตัมในประเทศไทย

       4. มีรสชาติดี ฝักตรง มีจำนวนเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อฝัก

       ลักษณะทางการเกษตร : อายุเก็บเกี่ยวฝักสด 80-85 วัน ฝักแห้ง 90-100 วัน ขนาดฝัก 3.2 x 1.2 ซม. จำนวนเมล็ด 2.6 เมล็ดต่อฝัก ผลผลิตฝักสด 456 กก./ไร่ ผลผลิตแห้ง 191 กก./ไร่

       พื้นที่แนะนำ : เหมาะสำหรับการปลูกในแหล่งการผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปถั่วลิสงฝักตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง เช่น ดินร่วน หรือดินร่วนเหนียว และมีการกระจายของฝนดี เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคกลาง

       ข้อควรระวัง : อ่อนแอต่อโรคโคนเน่า ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดด้วนสารเคมี lprodione 50% WP หรือ Benlate-T หรือ Cardoxin 75% อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม กาฬสินธุ์ 1 ฝักใหญ่ยาว เส้นลายบนฝักลึงขีดสีม่วง อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 580 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคราสนิม เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือที่เป็นดินร่วน หรือ ดินร่วนเหนียวปนทราย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง

       กาฬสินธุ์ 2

      ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ

       วันที่รับรอง : 09 มีนาคม 2544

       ลักษณะดีเด่น :

  1. ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 579 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแกน 60-2 และ

สข.38 ร้อยละ 10 และ 18 ตามลำดับ

  1. มีความต้านทานต่อโรคราสนิมและใบจุดสีน้ำตาล

  2. มีรูปร่างฝักสวย ฝักยาว มี 2-4 เมล็ดต่อฝัก รสชาติค่อนข้างหวาน

       พื้นที่แนะนำ : เหมาะสำหรับปลูกในแหล่งการผลิตเพื่อใช้ในรูปถั่วลิสงฝักตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง เช่น ดินรวน หรือดินร่วนเหนียวและมีการกระจายตัวของฝนดี เหมาะสำหรับการปลูกในเขตภาคเหนือ

       ข้อกำจัด : ควรปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง เช่น ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว มีการกระจายตัวของฝนดี

       สข.38 เส้นลายบนฝัก และจะจอยฝักเห็นชัดเจน มี 2-4 เมล็ดต่อฝัก เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงอายุเก็บเกี่ยว 85-90 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 490 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ที่เป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย

       พันธุ์สำหรับใช้ในรูปฝักแห้ง ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ

      ไทนาน 9

      ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง

       วันที่รับรอง : 09 ตุลาคม 2519

       ลักษณะเด่น :  ให้ผลผลิตสูง เมล็ดมีคุณภาพดี เปลือกของฝักค่อนข้างบาง ทำให้มีเปอร์เซ็นต์การกระเทาะสูง 32-77% และมีลักษณะอื่นๆ ที่ดีกว่าพันธุ์มาตรฐานเดิมคือ สจ.38 และลำปาง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวลล้อมได้ดี ผลผลิตทั้งฝักแห้งเฉลี่ย 260 กก./ไร่ ฤดูแล้ง 239 กก./ไร่ ฤดูฝน 236 กก./ไร่

       ลักษณะทางการเกษตร :  ทรงต้นเป็นพุ่มตรง (bunch) ติดฝักเป็นกระจุกที่โคนต้น ดอกสีเหลือง ออกดอกเมื่ออายุ 90-110 วันฝักค่อนข้างเล็ก เปลือกบางมี 2 เมล็ดต่อฝัก เส้นลายบนฝักไม่ชัดเจน ฝักเรียบ จงอยปากเห็นได้ชัดเจน

ความต้านทานโรค : ไม่ต้านทานดรคนาสนิมและโรคใบจุด

      

 

      ขอนแก่น 4

      ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง

       วันที่รับรอง : 19 ธันวาคม 2537

       ลักษณะดีเด่น :

  1. ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 586 กก./ไร่  ผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 270 กก./ไร่ และ

ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 171 กก./ไร่

  1. น้ำหนัก 100 เมล็ดเท่ากับ 47 กรัม

  2. ทนทานต่อโรคโคนเน่าปานกลาง

  3. ปลูกได้ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน

       พื้นที่แนะนำ : ปลูกได้โดยทั่วไปของสภาพดิน ที่มีความเหมาะสมในการผลิตถั่วลิสงในประเทศไทย มีเสถียรภาพให้การให้ผลผลิตดี มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี

       ขอนแก่น 5

      ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง

       วันที่รับรอง : 18 มีนาคม 2541

       ลักษณะดีเด่น :

       1. มีขนาดเมล็ดโตกว่า หรือน้ำหนัก 100 เมล็ด สูงกว่าพันธุ์มาตรฐานไทนาน 9 และ ขอนแก่น 60-1 ร้อยละ 17 และ 7 ตามลำดับ

       2. สามารถปรับตัวและให้ผลผลิตได้ดีกว่าพันธุ์มาตรฐานไทนาน 9 และขอนแก่น 60-1 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกในฤดูแล้งที่ให้น้ำชลประทาน  ให้ผลผลิตเฉลี่ยระหว่างพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 60-1 ร้อยละ 12 และ 7 ตามลำดับ

       3. มีระดับการเป็นโรคไวรัสยอดไหม้ ร้อยละ12.8 ต่ำกว่าพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 6-1 ซึ่งเป็นโรค ร้อยละ 20.6 และ 16.3 ตามลำดับ

       4. น้ำหนัก 100 เมล็ดเท่ากับ 51.1 กรัมผลผลิตฝักแห้ง 304 กก./ไร่

       พื้นที่แนะนำ : โดยทั่วไปของสภาพการผลิตถั่วลิสงในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้งที่น้ำชลประทานและฤดูฝนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะทำให้ผลผลิตสูงมาก

       ข้อควรระวัง : ถั่วลิสงสายพันธุ์ (Tain-an9xFCM387)-12-3-11 จะให้ผลผลิตไกล้เคียงกลับพันธุ์มาตรฐานไทนาน 9  และขอนแก่น 61-1 เมื่อปลูกในฤดูฝนที่มีสภาะแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การกระจายตัวของฝนไม่ปกติ ฝนทิ้งช่วงนานในระหว่างฤดูปลูกและการจัดการไม่เหมาะสม

       สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

  • ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 800 เมตร

  • ความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์

  • ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทราย

  • ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็น

  • การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี

  • ระดับหน้าดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร

  • ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-6.5

  • อุณหภูมิมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของถั่วลิสงมาก

  • อุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน/กลางคืน

ประมาณ 35/25 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,500 มิลิตรต่อปี

       การปลูก

       ฤดูปลูก การปลูกในฤดูฝน แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ

  • ตันฤดูฝน (เมษายน-พฤษภาคม)

  • กลางฤดูฝน (มิถุนายน)

  • ปลายฤดูฝน (กรกฎาคม-สิงหาคม)

       การปลูกในฤดูแล้ง มี 2 วิธี

  • ปลูกในนาโดยอาศัยน้ำชลประทาน (ธันวาคม-มกราคม)

  • ปลูกหลังนาโดยอาศัยความชื้อในดิน (ตุลาคม-พฤศจิกายน)

       การเตรียมดิน

       การปลูกในฤดูฝน

  • พื้นที่มีวัชพืชน้อย ไม่ต้องเตรียมดิน ให้ไถเปิดร่อง แล้วหยอดเมล็ด

  • พื้นที่มีวัชพืชหนาแน่น ให้เตรียมดินโดยไถ 1 ครั้ง ลึก 10-20 เซนติเมตร

ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง

       การปลูกในฤดูแล้ง มี 2 วิธี

  • ปลูกในนาโดยอาศัยน้ำชลประทาน ให้เตรียมดินปลูก เช่นเดียวกับกับ

การปลูกในฤดูฝนโดยยกร่องปลูกสูง 20-25 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำได้สะดวก

  • ปลูกหลังนาโดยอาศัยความชื้อในดินต้องเตรียมดินให้ละเอียดโดยไถ

ดิน 2 ครั้ง และพรวน 1-2 ครั้ง

       การวิเคราะห์ดิน

      ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ หลังจากไถพรวนดินให้หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับดินร่วนเหนียวปนทราย และอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย แล้วพรวนกลบ (สามารถใส่สารปรับสภาพดินแทนได้)

       วิธีการปลูก

      ปลูกด้วยเมล็ดที่มีความงอกมากกว่า 75เปอร์เซ็นต์ อัตราปลูก 13-14 กิโลกรัมต่อไร่สำหรับพันธืถั่วลิสงฝักสด และอัตรา 17-18 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับพันธุ์ถั่วลิสงฝักแห้ง ระยะปลูก 50x20 เซนติเมตร ปลูกในหลุมลึก 5-8 เซนติเมตร จำนวน 2-3 เมล็ดต่อหลุม ซึ่งจะได้จำนวน 32,000-48,000 ต้นต่อไร่ ถ้าปลูกในฤดูแล้งโดยอาศัยความชื้นในดิน ควรปลูกให้ลึก 10 เซนติเมตร คราดหน้าดิน หลังปลูกให้สม่ำเสมอเพื่อช่วยให้เมล็ดงอกดีขึ้น

       การให้ปุ๋ย 5 นางฟ้าทรงฉัตร

  • ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 18-46-0 อัตรา 15-20

กิโลกรัมต่อไร่ หรือหินฟอสเฟตสูตร 9-3-9 อัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-6  อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ หากไม่มีปุ๋ยดังกล่าวอาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-16-8 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ รองกันหลุมก่อนปลูก หรือโรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบถั่วลิสงงอก 10-15 วัน

       การให้น้ำ

  • การปลูกในฤดูแล้ง ควรให้น้ำตามร่องทันทีปลูกจนเต็มสันร่อง เพื่อให้ถั่ว

ลิสงงอกสม่ำเสมอ การปลูกในฤดูฝน ควรให้น้ำทุก 7 วันในเดือนแรก หลังจากนั้นให้น้ำทุก 10 วัน สูงถึงระดับเศษ 3 ส่วน 4 ของความลึกของร่องน้ำ โดยไม่ต้องระบายน้ำออก

  • ต้องไม่ให้ถั่วลิสงขาดน้ำ ช่วงอายุ 30-60 วันหลังงอก ซึ่งระยะที่อยู่ในช่วง

แทงเข็มสร้างฝักและเมล็ด

       การพรวนดิน

  • พรวนดินข้างแถวถั่วลิสงหลังออกดอกและก่อนแทงเข็ม ช่วงอายุ 30-40

วันหลังงอกเพื่อปรับหน้าดินให้เหมาะสมต่อการแทงเข็มและสร้างฝัก

  • ไม่ควรพูนดินกลบกิ่งแรก เพราะจะทำให้การออกดอกและการติดฝัก

ลดลง

       โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

  • โรคโคนเน่า หรือโคนเน่าขาด

     ต้นเหี่ยวเหลือง ยุบตัว โคนต้นเป็นแผลสีน้ำตาล พบกลุ่มสเปอร์สีดำปกคุมบริเวณแผลเมื่อถอนขึ้นมาส่วนลำต้นจะขาดจากส่วนราก พบโรคทุกแหล่งและทุกฤดูปลูก

       การป้องกันกำจัด : คลุกเมล็ดปลูกก่อนด้วย ไอโปรไดโอน 50% ดับบลิวพี 3-5 กรัม/เมล็ด 1 กก./น้ำ 20 ลิตร และคาร์เบนดาซิม 50% ดับบลิวพี 5 กรัม/เมล็ด 1 กก./น้ำ 20 ลิตร

  • โรคลำต้นเน่า หรือ โคนเน่าขาว

       ยอด กิ่ง และลำต้น เหี่ยวยุบเป็นหย่อมๆพบแผลเน่าที่ส่วนสัมผัสกับผิวดิน บริเวณที่ถูกทำลายจะมีเส้นใยสีขาว รวมทั้งเม็ดสเคลอโรเทีย ของเชื้อราที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดผักกาดโดยเฉพาะในพื้นที่มีการปลูกพืชแน่นเกินไป และปลูกซ้ำที่เดิมพบพืชเป็นโรคในช่วงติดฝักถึงเก็บเกี่ยว

       การป้องกันกำจัด : พ่นสารเมตาแลกซิน+แมนโคเซบ (8% + 64% ดับบลิวพี) 15-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และโพรพิโคนาโซล (25% อีซี) 12-20 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร ไอโปรไดโอน (50% ดับบลิวพี) 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

  • โรคยอดไหม้

       ยอดอ่อนและใบยอดเป็นแผลเซลล์ตายมีสีเหลือง ก้านในและกิ่งโค้งงอ ถ้าเป็นโรคในระยะกล้าถั่วลิสงจะตายหรือแคระแกร็นไม่ติดฝัก ถ้าเป็นโรคระยะต้นโต ทำให้การติดฝักลดลง

การป้องกันกำจัด : พ่นสาร อะซีเฟต 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ไตรอะโซฟอส 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร เมทิโอคาร์บ 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟพาหะนำโรค

  • โรคใบจุด

       แผลเป็นจุดสีดำหรือน้ำตาล ขนาด 1-8 มิลลิเมตร ขอบแผลอาจมีวงสีเหลืองล้อมรอบระยะแรกที่พบที่ใบล่าง ต่อมาลุกลามไปสู่ใบบนอาการรุนแรงทำให้ใบเหลือง ขอบใบบิดเบี้ยวไหม้แห้งดำ และร่วงก่อนกำหนด

       การป้องกันกำจัด : พ่นสารเบโนมิล 15-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และแมนโคเซบ 20-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

  • โรคราสนิม

       แผลเป็นตุมสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายทั่วบนใบ ต่อมาแผลจะแตก พบสปอร์เชื้อราสีน้ำตาลคล้ายสนิมเหล็กจำนวนมาก คุมบริเวณปากแผล

       การป้องกันกำจัด :  พ่นสารคลอโรธาโรนิล 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร แมนโคเซบ 30-40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร มาเนบ 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

       แมลงศตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

  • หนอนชอนใบถั่วลิสง

       ชอนเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อของใบเหลือไว้แต่ผิวด้านบนและด้านล่าง ต่อมาใบแห้งเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตมากขึ้นจะออกมาพับใบถั่ว หรือชักใยเอาใบถั่วมารวมกัน อาศัยกัดกินและเข้าดักแด้ในใบนั้น ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ต้นถั่วแคระแกร็นใบร่วงหล่น

       การป้องกันกำจัด : พ่นสารไตอะโซฟอส 40 มล./น้ำ 20 ลิตร และอะซีเฟต 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

  • เพลี้ยอ่อนถั่ว

       ตัวอ่อนและตัวเต็มไว้จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก และเข็ม ทำให้ต้นแคระแกร็นใบอ่อน และยอดอ่อนหงิกงอ

       การป้องกันกำจัด : พ่นสาร คลอร์ไพริฟอส 100 มล/น้ำ 20 ลิตร

       เพลี้ยไฟ

      ดูดกินน้เลี้ยงตามยอดอ่อน ใบ และดอกทำให้ใบหงิกงอ บิดเบี้ยวมีรอยขีดข่วน เพลี้ยไฟบางชนิดทำลายใบ ทำให้เหมือนมีไขติดอยู่เส้นกลางใบและหลังใบ สีน้ำตาลคล้ายสนิมถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ยอดไหม้และตายได้

       การป้องกันกำจัด : พ่นสารอะซีเฟต 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ไตรอะโซฟอส 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร เมทิโอคาร์บ 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพลี้ยจักจั่นตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำบริเวณใต้ใบ ทำให้ใบเหลือง ปลายใบเป็นรูปตัววี ถ้าระบาดรุนแรงมาก ใบสีไหม้เป็นสีน้ำและร่วง การป้องกันกำจัด พ่นสารอะซีฟอส 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

  • เสี้ยนดิน

เจาะเปลือกถั่วเป็นรูแล้วกัดกินเมล็ดในฝัก หลังจากนั้นจะนำเข้าไปไว้ในฝักแทนเมล็ดที่ถูกทำลาย

       การป้องกันกำจัด : ใช้สารควินสลฟอส 4 กก./ไร่ โรยพร้อมปุ๋ยข้างถั่ว และ คลอร์ไฟริฟอส 750 มล./น้ำ 80 ลิตร/ไร่ ฉีด

       สัตว์ศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

  • หนู

       ขุดกินถั่วลสงตั้งแต่ระยะฝักอ่อน โดยกินทั้งฝัก เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยวหนูจะกัดกินเฉพาะเมล็ดภายในและทิ้งซากเปลือกไว้ การป้องกันกำจัด ใช้กรงดักหรือ กับดัก ร่วนกับการใช้เยื่อพิษ

       การป้องกันกำจัดวัชพืช ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วันพรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืช ข้ามปีออกจากแปลง กำจัดวัชพืชด้วยแรงาน 1-2 ครั้ง เมื่อ 10 วัน หรือ 30-40 วันหลังถั่วลิสงงอกโดยใช้จอบดายระหว่างแถว และใช้มือถือระวังต้น ต้องระวังไม่ให้รากและต้นของถั่วลิสงกระทบกระเทือน ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกล ไม่มีประสิทธิ์ภาพเพียงพอควรพ่นสารกำจัดวัชพืชก่อนหรือหลังปลูกถั่วลิสง หลีกเลี่ยงการพ่นสารกำจัดวัชพืชโดยตรงไปที่ต้นถั่วลิสง

        การเก็บเกี่ยว

      ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

  • ถั่วลิสงฝักสด เก็บเกี่ยวตามอายุของพันธุ์ที่ปลูก

  • ถั่วลิสงฝักแล้ง เก็บเกี่ยวตามอายุของพันธุ์ที่ปลูก หรือเมื่อเปลือกฝักด้าน

ในเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ โดยสุ่มถอนต้นถั่วลิสง 1 ต้นต่อจุด สำรวจ 10 จุดต่อไร่

  • การปลุกในฤดูแล้ง จะมีอายุเก็บเกี่ยวนานกว่าการปลูกในฤดูฝน 5-10

วัน

        วิธีการเก็บเกี่ยว

  • ถอนหรือใช้จอบขุด ขณะดินมีความชื้น ระวังอย่าให้ฝักถั่วเป็นร่องแผล

  • ปลิวฝักด้วยมือ หรือเครื่องปลิว ร่อนดินออก และคัดฝักเสีย ฝักเน่า

และฝักที่เป็นแผลทิ้ง

  • ตากถั่วลิสงแห้งบนตะแกรงตาข่าย แคร่ หรือผ้าใบ อย่าให้ฝักสัมผัสกับ

พื้นดิน กองถั่วหนาไม่เกิน 5 เซนติเมตร พลิกกลับกองถั่ววันละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ฝักแห้งสม่ำเสมอทั่วทั้งกอง

  • ช่วงที่แดดจัดใช้เวลาตากประมาณ 3-5 วัน ทำให้ความชื้นลดต่ำลงกว่า

9 เปอร์เซ็นต์

  • มีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน

สารอะฟลาทอกซิน ซึ่งเกิดจากเชื้อราในเมล็ดถั่วลิสง

       วิทยาการหลังเก็บเกี่ยว

  • ถั่วลิสงเมล็ดขนาดปานกลาง เก็บรักษาได้นานกว่าขนาดเมล็ดใหญ่

และเมล็ดขนาดเล็ก

  • ในห้องที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ควรเก็บในรูปฝักแห้งซึ่งจะเก็บได้นาน

กว่าเมล็ดแห้ง 2 เดือน เนื่องจากเปลือกฝักช่วยปกกันเมล็ดได้อีกชั้น

  • ควรกระเทาะถั่วลิสงฝักแห้งภายใน 3 เดือน เพื่อรักษาคุณภาพ

ด้านการบริโภค

       การเก็บรักษาผลผลิตและบรรจุถั่วลิสงสด

  • ควรบรรจุถั่วลิสงฝักสดในกระสอบป่านที่สะอาด แล้วนำส่งตลาดให้เร็ว

ที่สุด เพื่อรักษาคุณภาพทางด้านรสชาติ

  • ควรส่งให้ถึงตลาดก่อน 24 ชั่วโมง ล้างให้สะอาดแล้วตัมทันที

  • ไม่ควรกองไว้นานเกิน 1 วัน เพราะอาจจะเกิดเชื้อราที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้

บริโภค

       ถั่วลิสงฝักแห้ง

  •  บรรจุฝักในกระสอบป่านที่สะอาดและเก็บรักษาในโรงเก็บหรือส่ง

จำหน่ายให้ลูกค้า

  • โรงเก็บต้องเป็นอาคารโปร่ง อากาศถ่ายเทดี ป้องกันจากการเปียกชื้น

จากฝนได้ ไม่มีมอดหนูหรือสัตว์เลี้ยงเข้ารบกวน

  • ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ให้หาวัตถุรองกระสอบป่าน เช่นไม้ไผ่ เสาคอนกรีด เพื่อ

ไม่ให้ถั่วลิสงดูดความชื้นจากพื้นซีเมนต์ เพื่ออาจจะทำให้ถั่วเกิดเชื้อราได้

       ของจำกัดของถั่วลิสง

       ในถั่วลิสงมีข้อจำกัดที่สำคัญคือการเกิดสารพิษในถั่วลิสงที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารอะฟลาท็อกซิน เชื่อราที่เป็นสาเหตุ เชื้อ Aspergillus flavus และ A.parasiticus สารพิษนี้สามารถปนเปื้อนตั้งแต่ช่วงระยะที่ปลูกในแปลง การเก็บเกี่ยว การตากแห้ง รวมทั้งระหว่างการเก็บรักษาก่อนถึงผู้บริโภค โดยเฉพะการปลูกถั่วลิสงในฤดูฝน การปนเปื้อนของสารชนิดนี้เริ่มในช่วงถั่วลิสงสร้างฝัก เชื้อราชนิดนี้จะเติบโตได้ดีในสภาพอุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัท์(RH)75% ซึ่งเป็นสารพิษร้ายแรงต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภค ทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยงโดยตรงอย่างเฉียบพลัน หากได้รับใบปริมาณสูงและอาจเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโคตมะเร็งที่ตับ หัวใจ และสมอง สำหรับประเทศไทยกำหนดให้มีสารชนิดนี้ไม่เกิน 20 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) ส่วนต่างประเทศกำหนดให้มีสารชนิดนี้ไม่เกิน 5-30 ppb ทั้งนี้ขี้นอยู่กับการกำหนดมาตรฐานในแต่ละประเทศ

(ที่มา : กรมวิชาการเกษตรกร)

 

 

 

 

            

Tags : การใส่ปุ๋ยถั่วลิสง

view