www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

แนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลก ปี 2563

แนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลก ปี 2563

โปรโมชั่นปุ๋ยเคมี 5นางฟ้าทรงฉัตร วันที่ 1-31 ต.ค. 2556

ปุ๋ยเคมี,ปุ๋ยยูเรีย,ปุ๋ยนาข้าว,ปุ๋ยยางพารา,ปุ๋ยอ้อย


































แนวโน้มปุ๋ยเคมีโลก

          สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ  ประจำสหภาพยุโรป  ได้ส่งรายงานการติดตามความเคลื่อนไหวในด้านแนวโน้มตลาดปุ๋ยเคมีของ
โลก ระหว่างปี 2552 – 2556 (ค.ศ. 2009 – 2013)     คาดการณ์โดย International Fertilizer Industry Association (IFA)  ผลิใบฯ เห็นว่าจะเป็น
ประโยชน์กับผู้อ่าน  จึงนำมาเล่าสู่กันฟังภาพรวมปี 2551  ตลาดปุ๋ยเคมีโลกผันผวน   เนื่องจากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยและเกิดวิกฤตการณ์
ด้านการเงิน    ส่งผลให้ประเทศที่ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก  มีความต้องการใช้ปุ๋ยลดลงในระยะสั้นยอดขาย  และความต้องการนำเข้าปุ๋เคมีลดลงใน
ไตรมาสสุดท้ายของปี 2551    ความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีโดยรวมของโลกลดลงจาก 168.1 ล้านตันในปี 2550 / 2551   เหลือ 159.6 ล้านตัน     ในปี 
2551 / 2552 (ลดลง 5.1%)

          ปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลดลง 1.6% ในขณะที่ความต้องการใช้ปุ๋ยฟอสเฟส และโปแตสเซียมลดลงมากกว่า 7%  และ 14% ตามลำดับ
ทั้งนี้    เพราะเกษตรกรในหลายประเทศมั่นใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และความสามารถในการขอสินเชื่อมีจำกัด  ทำให้เกษตรกรต้องละชอการซื้อ
วัตถุดิบ (ปุ๋ยเคมี) หรือใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่ลดลง แม้กระทั่งต้นปี 2552 สถานการณ์ตลาดปุ๋ยเคมีก็ยังไม่ดีขึ้น

          สถานการณ์ตลาดปุ๋ยโลกระหว่างปี 2552 – 2556     IFA คาดการณ์ว่าสถานการของตลาดปุ๋ยเคมี จะเริ่มกลับมาดีขึ้นในปี 2552/2553
โดยมีเหตุผลดังนี้

          -  สภาพตลาดน่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น  เนื่องจากที่ผ่านมาภาคเกษตรกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่อง และสินค้าเกษตรมีราคาดี ซึ่งจะทำให้
เกษตรกรหันกลับมาปลูกพืชเกษตรเพิ่มขึ้นอีกครั้ง  จาก baseline scenario  ของ IFA  คาดการณ์ว่าวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ  อาจมีผลกระทบต่อการ
เติบโตของความต้องการใช้ปุ๋ยอยู่ระหว่าง 1 ถึง 3 ปี

          -  ความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น   จากการแข่งขันที่เกิดขึ้นในตลาดจะทำให้ความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีในปี 2552 / 2553  เพิ่มขึ้น 3.6% เป็น
165.4 ล้านตัน และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 187 ล้านตันในปี 2556/2557

          อุปทานของปุ๋ยเคมี   อาจเพิ่มขึ้นในปีหน้า   เมื่อพิจารณาการผลิตปุ๋ยเคมีในช่วงระหว่างปี 2545 - 2550   พบว่า ที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรม
ได้เพิ่มระดับการผลิตปุ๋ยเคมีทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม จนเกือบเต็มศักยภาพการผลิต     เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก 
ดังนั้น ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และวิกฤตการณ์ทางด้านการเงิน แม้จะทำให้บริษัทต่าง ๆ  ลดกำลังการผลิตลง  แต่มีผลกระทบต่ออุปสงค์ปุ๋ยเคมี
เพียงในระยะสั้นเท่านั้น     ในระยะยาวแล้วเมื่อการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศต่าง ๆ  กลับคืนมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง     ย่อมจะทำให้ระดับในการผลิต
ปุ๋ยเคมีกลับเพิ่มขึ้นใหม่ดังแนวโน้มที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะการผลิตปุ๋ยโปแตสเซียมและฟอสฟอรัส

          IFA เรียกร้องให้ภาครัฐพิจารณาต้นเหตุที่แท้จริงของวิกฤติการณ์และปัญหาการขาดแคลอาหาร  IFA เห็นว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น
เนื่องจากสต๊อกสินค้าเกษตร (Agricultural commodities) มีอยู่ในระดับต่ำ และผลผลิตธัญพืชที่เก็บเกี่ยวได้ในปี 2552  ยังคงมีแนวโน้มลดลง เมื่อ
เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา  ดังนั้น หนทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้น    จึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า
เกษตรให้ดีขึ้น อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ เพราะเป็นผู้ผลิตสารอาหารบำรุงดินและทำให้การทำเกษตรกรรมเป็นแบบยั่งยืน
มากขึ้น โดยเฉพาะการเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา

          เกี่ยวกับเรื่องนี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้

          1. การใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประสิทธิภาพในการเพาะปลูกดีขึ้น  แม้จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาหาร ลดความยากจน  และช่วย
เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของโลก           แต่การใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่สูงจนเกินไปในบางส่วนของโลก  เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและ
สาธารณรัฐประชาชนจีน   ได้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งต่อสภาพดิน  แหล่งน้ำบนดินและใต้ดิน ที่มีสภาพเสื่อมลง     นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดก๊าซ
ไนตรัสออกไซต์ (N2O) ที่มาจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอันเป็นต้นเหตุของก๊าซเรือนกระจกและทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

          2. หากความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามที่ IFA คาดการณ์ไว้ รัรฐบาลในแต่ละประเทศ (โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
ที่มีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราสูง)  ควรเตรียมพร้อมหามาตรการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น  เช่น ภาวะปุ๋ยเคมีมีราคาแพง  หรืออุปทานไม่เพียง
พอ เนื่องจากก่อนเกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมได้ผลิตปุ๋ยในระดับที่เกือบเต็มศักยภาพแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่วิกฤตการณ์
ปุ๋ยเคมีอาจเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว  และความต้องการใช้ปุ๋ยกลับคืนมาอย่างไรก็ตาม   ภาครัฐจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึง
มาตรการที่จะเลือกนำมาใช้ เพื่อบรรเทาปัญหา หรือช่วยเหลือเกษตรกรในอนาคตว่าต้องมีความเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลดีและผลเสียที่อาจเกิดขึ้น
ต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย

          3. สำหรับประเทศไทย  แม้ว่าสินค้าเกษตรจะสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ แต่เกษตรกรไทยยังคงประสบภาวะผลผลิตได้กำไรต่ำและ
ต้นทุนการผลิตสูง  ทั้งต้นทุนที่มาจากเมล็ดพันธุ์พืช  ค่าน้ำมัน  ค่าขนส่งปุ๋ยเคมี  แต่ไทยอาจจหลีกเลี่ยงปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่สูงขึ้นได้  เพราะยังไม่มี
แหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตปุ๋ยเคมีในเชิงพาณิชย์  จึงต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก แนวโน้มในช่วงที่ผ่านมาความต้องการใช้ปุ๋ยเคมี
ของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ ราคาปุ๋ยก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะปี 2551 ที่น้ำมันมีราคาแพงและอุปทานปุ๋ยเคมีเกิดความตึงตัว
จึงทำให้เกษตรกรไทยมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก

          ดังนั้น  หน่วงงานที่เกี่ยวข้องควรแนะนำ และส่งเสริมเกษตรกรให้มีความรู้   และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มี
ความเหมาะสมกับชนิดของดินและพืช และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยเคมี  เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีของ
ประเทศ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสารอินทรีย์ในดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติมากขึ้น

          จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น กรมวิชาการเกษตรจะได้ติดตามสถานการณ์ของตลาดปุ๋ยเคมีโลก ที่มีผลกระทบต่อภาคเกษตรของประเทศอย่าง
ใกล้ชิด  รวมทั้ง เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ด้านราคาปุ๋ยเคมี หรือภาวะอุปทานไม่เพียงพอที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต      นอกจากนี้ จะได้
ส่งเสริมให้การทำการเกษตรของประเทศเป็นแบบยั่งยืนมากขึ้น โดยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ที่มา กรมวิชาการเกษตร

Tags : ปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยยางพารา ราคาปุ๋ยเคมีวันนี้ ยูเรีย นกยูงเขียว เอกสุพรรณ ราคาโรงงาน วันนี้ มีนาคม นางฟ้าทรงฉัตร กระต่าย ม้าบิน หัววัวคันไถ มงกุฎ เรือใบ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว นา ยางพารา ปาล์ม 2563

view